แนวข้อสอบรัฐธรรมนูญ ปี 50(ไม่มีเฉลย)

แจกแนวข้อสอบรัฐธรรมนูญ ปี 50
ตัวอย่างแนวข้อสอบ
1. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ได้รับความเห็นชอบจาก
   ก. คณะรัฐมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ ( คมช. )
   ข. สภาร่างรัฐธรรมนูญ
   ค. สภานิติบัญญัติแห่งชาติ
   ง. การลงประชามติของประชาชนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง
2. รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันประกาศใช้เมื่อใด
   ก. 1 สิงหาคม 2550         ข. 17 สิงหาคม 2550
   ค. 24 สิงหาคม 2550      ง. 25 สิงหาคม 2550
3. รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันเป็นรัฐธรรมนูญฉบับที่เท่าใด
   ก. ฉบับที่ 16      ข.ฉบับที่ 17
   ค. ฉบับที่ 17      ง. ฉบับที่ 19
4. รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันมีกี่หมวด กี่มาตรา
   ก. 14   หมวด   303  มาตรา         ข.  14   หมวด   309   มาตรา
   ค. 15   หมวด   303  มาตรา         ง.   15   หมวด   309   มาตรา

5. มาตรา 1   ของรัฐธรรมนูญบัญญัติไว้เกี่ยวกับเรื่องใด
   ก. ประมุขของรัฐ
   ข. ความเป็นรัฐเดี่ยวของราชอาณาจักรไทย
   ค. ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์และความคุ้มครอง
   ง. สิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทย
6. ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับปัจจุบัน  มาตรา ระบุว่า  ? ประเทศไทยเป็นราชอาณาจักร ..... ?
      ก. .... ที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ?
      ข. .... ที่มีการปกครองระบอบประชาธิปไตย ?
      ค. .... อันหนึ่งอันเดียวจะแบ่งแยกมิได้ ?
      ง. .... อันหนึ่งอันเดียว จะแบ่งแยกมิได้ อำนาจอธิปไตยมาจากปวงชนชาวไทย ?
7. รัฐธรรมนูญกำหนดให้มีคณะองคมนตรีได้ไม่เกินกี่คน
      ก.  17  คน   ข.  18  คน  
ค.  19  คน   ง.  20  คน
8. ใครมีอำนาจลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
      ก. ประธานองคมนตรี      ข. ประธานรัฐสภา
      ค. ประธานวุฒิสมาชิก      ง. นายกรัฐมนตรี
9. ในระหว่างที่สภาผู้แทนราษฎรสิ้นอายุหรือถูกยุบ ใครจะเป็นผู้ให้ความเห็นชอบแต่งตั้งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
      ก. สภาองคมนตรี         ข. รัฐสภา
      ค. วุฒิสภา         ง. พระมหากษัตริย์
10. ข้อใดกล่าวถึงสิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทยตามรัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2550  ไม่ถูกต้อง
      ก. การให้เงินหรือทรัพย์สินอย่างอื่นอุดหนุนหนังสือพิมพ์หรือสื่อมวลชนอื่นของเอกชน รัฐจะกระทำมิได้
      ข. บุคคลซึ่งถูกละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพที่รัฐธรรมนูญรับรองไว้ สามารถยกบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญเพื่อใช้สิทธิทาง
                                       ศาลหรือยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ คดีในศาลได้
                               ค. บุคคลย่อมมีสิทธิได้รับทราบและเข้าถึงข้อมูลหรือข่าวสารสาธารณะในครอบครองของหน่วยราชการ หน่วยงานของ
                                     รัฐ  รัฐวิสาหกิจ  หรือราชการส่วนท้องถิ่น
                                ง. การใช้อำนาจโดยองค์กรของรัฐทุกองค์กร ต้องคำนึงถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิและเสรีภาพตามบทแห่ง
                                     รัฐธรรมนูญนี้

11. บทบัญญัติในรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 ที่แสดงเจตนารมณ์ให้ประเทศไทยเป็นรัฐสวัสดิการนั้นมีอยู่หลายประการด้วยกัน
     ยกเว้นข้อใด 
   ก. ผู้ยากไร้มีสิทธิได้รับการรักษาพยาบาลจากสถานบริการสาธารณสุขของรัฐโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
   ข. บุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับการศึกษาไม่น้อยกว่าสิบสองปีที่รัฐจะต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ โดยไม่
            เก็บ  ค่าใช้จ่าย
   ค. บุคคลซึ่งไร้ที่อยู่อาศัยและไม่มีรายได้เพียงพอแก่การยังชีพ ย่อมมีสิทธิได้รับการจัดสรรที่อยู่อาศัยจากรัฐ
   ง. บุคคลซึ่งมีอายุเกิน 60 ปี บริบูรณ์และไม่มีรายได้เพียงพอแก่การยังชีพ มีสิทธิได้รับสวัสดิการสิงอำนวยความสะดวก
                    อัน เป็นสาธารณะอย่างสมศักดิ์ศรี และความช่วยเหลือที่เหมาะสมจากรัฐ
12. การกำจัดสิทธิเสรีภาพของบุคคลที่รัฐธรรมนูญรับรองไว้จะกระทำมิได้ ยกเว้น ข้อใด
      ก. รัฐธรรมนูญกำหนดกฎหมายไว้
      ข. เป็นการจำกัดของคณะรัฐมนตรี
      ค. เป็นการจำกัดโดยรัฐสภา
                                ง เป็นการจำกัดโดยศาลหรือตุลาการ
13. การกระทำข้อใด ไม่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญที่ว่า  ? บุคคลย่อมมีสิทธิและเสรีภาพในชีวิตและร่างกาย ?
      ก. พนักงานสอบสวนใช้ไฟส่องหน้าและใช้เวลาสอบสวนผู้ต้องหาติเดต่อกันถึง 8 ชั่วโมง
      ข. ประหารชีวิตนักโทษตามกฎหมาย
      ค. ตำรวจซ้อมผู้ร้ายปากแข็งเพื่อให้รับสารภาพ
      ง. ผิดทุกข้อ
14. สิทธิเสรีภาพของบุคคลในทางอาญาข้อใด ไม่ถูกต้อง
      ก. ต้องสันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ต้องหาไม่มีความผิด
      ข. ต้องสันนิษฐานไว้ก่อนว่าจำเลยมีความผิด
      ค. จะลงโทษผู้กระทำผิดหนักกว่าโทษที่กฎหมายกำหนดไว้ไม่ได้
      ง. ก่อนมีคำพิพากษาว่าบุคคลใดได้กระทำความผิดปฏิบัติ ต่อบุคคลนั้นเสมือนเป็นผู้กระทำความผิดมิได้
15. เราสามารถปฏิเสธการตรวจค้นบ้านจากตำรวจได้ หากเขาไม่มีหมายค้นแสดงต่อเราก่อน ถือว่าเรามีเสรีภาพในข้อใด
      ก. เสรีภาพในชีวิตร่างกาย      ข. เสรีภาพในการเลือกถิ่นที่อยู่
      ค. เสรีภาพในเคหสถาน      ง. เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น
16. การกระทำข้อใด ไม่ขัด ต่อสิทธิเสรีภาพแห่งรัฐธรรมนูญ
      ก. การเนรเทศผู้มีเชื่อชาติไทยออกนอกราชอาณาจักร
      ข. การห้ามผู้มีสัญชาติไทยเข้ามาในราชอาณาจักร
      ค. การเปิดเผยสิ่งสื่อสารที่บุคคลมีติดต่อถึงกัน
      ง. การสั่งปิดโรงพิมพ์ สถานีวิทยุกระจายเสียง
17. บุคคลมีสิทธิเสมอกันในการรับการศึกษาไม่น้อยกว่ากี่ปี
      ก.  6  ปี      ข.  10  ปี     
ค.  12  ปี      ง.  16  ปี
18. การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์จะกระทำได้เฉพาะเพื่อการใดเท่านั้น
      ก. การอันเป็นสาธารณูปโภคและการผังเมือง
      ข. การอันจำเป็นในการป้องกันประเทศ และการปฏิรูปที่ดิน
      ค. การได้มาซึ่งทรัพยากรธรรมชาติ การพัฒนาการเกษตร หรืออุตสาหกรรม
      ง. ถูกทุกข้อ
19. การจำกัดเสรีภาพในการประกอบอาชีพกระทำได้เฉพาะเพื่อการใด
      ก. การรักษาความมั่นคงของรัฐ หรือเศรษฐกิจของประเทศ
      ข. การคุ้มครองประชาชนด้านสาธารณูปโภคการคุ้มครองผู้บริโภค
      ค. การรักษาความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน
      ง. ถูกทุกข้อ
   20. ผู้ใดไม่มีสิทธิได้รับความช่วยเหลือจากรัฐ
      ก. เด็กและเยาวชนซึ่งไม่มีผู้ดูแล
       ข. ผู้มีอายุเกิน 60 ปี บริบูรณ์ และมีรายได้เพียงพอต่อการยังชีพ
      ค.ผู้พิการทุพพลภาพ      ง. ถูกทุกข้อ
       21. สิทธิของบุคคลในชุมชนเกี่ยวกับการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม ข้อใดที่รัฐธรรมนูญ มิได้บัญญัติไว้
      ก. การมีส่วนร่วมในการบำรุงรักษา
      ข. การฟ้องหน่วยราชการที่ดำเนินโครงการก่อให้เกิดผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อม
      ค. การใช้ทรัพยากรธรรมชาติได้อย่างอิสระ
      ง. สิทธิฟ้องร้ององค์กรของรัฐที่ทำให้เกิดผลกระทบอย่างรุนแรงต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อม
   22. ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐตามรัฐธรรมนูญ
      ก. รัฐต้องส่งเสริมสัมพันธไมตรีกับนานาประเทศ เว้นแต่ประเทศที่มีอุดมการณ์ทางการเมืองแตกต่างกัน
      ข. รัฐต้องดูแลให้มีการปฏิบัติตามกฎหมาย
      ค. รัฐต้องสนับสนุนระบบเศรษฐกิจแบบเสรีและเป็นธรรมโดยอาศัยกลไกตลาด
      ง. รัฐต้องส่งเสริม สนับสนุนและคุ้มครองระบบสหกรณ์
   23. ตามรัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2550 สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เป็นองค์กรประเภทใด
      ก. หน่วยงานของรัฐ      ข. องค์กรอิสระตามกฎหมาย
      ค. องค์กรอื่นตามรัฐธรรมนูญ   ง. องค์กรในทางรัฐสภา
   24. ข้อใดไม่ใช่แนวนโยบายพื้นฐานของรัฐ
      ก. แนวนโยบายด้านความมั่นคงของรัฐ
      ข. แนวนโยบายด้านการบริหารราชการแผ่นดิน
      ค. แนวนโยบายด้านพลังงาน
      ง. แนวนโยบายด้านการมีส่วนร่วมของประชาชน
   25. ประธานรัฐสภามาจากข้อใด
      ก. ประธานองคมนตรี      ข. ประธานวุฒิสภา
      ค. ประธานสภาผู้แทนราษฎร      ง. ถูกทุกข้อ
   26. รัฐธรรมนูญปัจจุบันกำหนดให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาจากการเลือกตั้งแบบสัดส่วนกี่คน
      ก.  40  คน   ข.  80  คน  
ค.  100  คน   ง.  120  คน
   27. การเลือกตั้งแบบสัดส่วนกำหนดเขตเลือกตั้งไว้กี่กลุ่ม
      ก.  4  กลุ่ม   ข.  8  กลุ่ม  
ค.  10  กลุ่ม   ง.  12  กลุ่ม
   28. รัฐธรรมนูญปัจจุบันกำหนดให้สภาผู้แทนราษฎรประกอบด้วยสมาชิกจำนวนกี่คน
      ก.  200  คน   ข.  400  คน  
ค.  480  คน   ง.  630  คน
   29. ข้อใดไม่ถูกต้องเกี่ยวกับจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้งแต่ละจังหวัด
      ก. ใช้จำนวนราษฎรตามหลักฐานการทะเบียนที่ประกาศในปีสุดท้ายก่อนปีที่มีการเลือกตั้ง
      ข. ใช้จำนวน  400  เป็นตัวหาร
      ค. จังหวัดที่ไม่ถึงเกณฑ์จำนวนราษฎรต่อ สส. หนึ่งคน มี สส. ได้หนึ่งคน
      ง. จังหวัดที่มี สส. 2 คนขึ้นไปจะต้องแบ่งเขตเลือกตั้งในจังหวัดอย่างน้อยเป็น 2 เขต
      จง ถูกทุกข้อ

   30. ผู้มีสิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรต้องมีอายุ 18 ปี บริบูรณ์ใน ....
      ก. วันประกาศบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง   ข.วันเลือกตั้ง
      ค. วันเกิด               ง. วันที่ 1 มกราคม ของปีที่มีการเลือกตั้ง  
จ. วันประกาศพระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้ง
   31. เมื่ออายุของสภาผู้แทนราษฎรสิ้นสุดลง จะต้องมีการเลือกตั้งทั่วไปภายในกำหนดเท่าใด
      ก.  45  วัน      ข.  60  วัน  
ค.  90  วัน      ง.  120  วัน  
จ.  150  วัน
   32. หลังยุบสภาต้องเลือกตั้งใหม่ภายในกี่วันนับแต่วันยุบสภานั้น
      ก.  30  วัน      ข.  45  วัน  
ค.  45  วันแต่ไม่เกิน 60 วัน   ง. 60  วัน     
จ.  90  วัน
   33. วันเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไปต้องตราเป็น ??
      ก. พระราชกำหนด         ข.พระราชบัญญัติ
      ค. พระราชกฤษฎีกา      ง. ประกาศพระบรมราชโองการ
      จ. กฎกระทรวง
   34. ใครเป็นผู้จัดทำบัญชีรายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้ง
      ก. กรรมการการเลือกตั้ง      ข. กรมการปกครอง
      ค. กระทรวงมหาดไทย      ง. พรรคการเมือง
      จ. กลุ่มสมาชิกพรรคการเมือง
   35. เขตเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบสัดส่วน ให้ถือเขตเลือกตั้งอย่างไร
      ก. ให้ถือเขตภูมิภาคเป็นเขตเลือกตั้ง
      ข. ให้ถือเขตจังหวัดเป็นเขตเลือกตั้ง
      ค. ให้ถือเขตอำเภอเป็นเขตเลือกตั้ง
      ง. ให้ถือเขตประเทศเป็นเขตเลือกตั้ง
      จ. ให้ถือตามการจัดกลุ่มจังหวัดเป็นเขตเลือกตั้ง
   36. ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับเลือกตั้งแบบสัดส่วน
      ก. พรรคการเมืองต้องส่งครบทุกเขตเลือกตั้ง
      ข. พรรคการเมืองจะส่งเพียงบางเขตเลือกตั้งก็ได้
      ค. ในแต่ละเขตเลือกตั้งจะมีจำนวน สส. เท่าใดขึ้นอยู่กับจำนวนประชากรในเขตเลือกตั้งนั้น
      ง. พรรคการเมืองที่จะได้คะแนนน้อยกว่าร้อย 10 จะไม่นำมารวมคำนวณจำนวน สส.
       .ถูกทุกข้อ
   37. การเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง ให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งออกเสียงลงคะแนนเลือกตั้งผู้สมัครรับเลือกตั้งได้เขตละกี่คน
      ก.  1  คน      ข.  2  คน      ค.  3  คน     
      ง. เท่าจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในเขตเลือกตั้งนั้น
      จ. ไม่เกินจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในเขตเลือกตั้งนั้น
   38. ข้อใดกล่าว ผิด เกี่ยวกับจำนวนสมาชิกภาผู้แทนราษฎร
      ก. จังหวัดใดราษฎรไม่ถึงเกณฑ์ให้มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้ 1 คน
      ข. จังหวัดใดราษฎรเกินเกณฑ์ 1 คน ให้มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเพิ่มอีก 1 คน
      ค. ให้มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเพิ่มอีก 1 คน ทุกจำนวนราษฎรที่ถึงเกณฑ์จำนวนราษฎรต่อสมาชิก 1 คน
      ง. ถ้าสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรยังไม่ครบ 400 คน จังหวัดใดเหลือเศษมากที่สุดให้เพิ่มสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้อีก
                    1 คน และใช้วิธีนี้เพิ่มกับจังหวัดลำดับถัดไปจนครบ 400 คน
   39. ข้อใด ไม่ถูกต้อง เกี่ยวกับเขตเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง
      ก. จังหวัดใดมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไม่เกิน 1 คน ให้ ถือเขตจังหวัดเป็นเขตเลือกตั้ง
      ข. จังหวัดใดมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไม่เกิน 2 คน ให้ ถือเขตจังหวัดเป็นเขตเลือกตั้ง
   ค. จังหวัดใดมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไม่เกิน 1 คน ให้แบ่งเขตจังหวัดออกเป็นเขตเลือกตั้งมีจำนวนเท่ากับจำนวน 
            สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่พึงมี
   ง. จังหวัดใดมีการแบ่งเขตเลือกตั้งมากกว่า 1 เขต ต้องแบ่งพื้นที่แต่ละเขตให้ติดต่อกันและให้มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
      ใกล้เคียงกัน
40. ใคร ไม่มี สิทธิเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญ
   ก. กานดาแปลงสัญชาติเป็นสัญชาติไทยมาแล้ว 4 ปี
   ข. สากลมีชื่อในทะเบียนบ้านในเขตเลือกตั้งมาแล้วรวม 60 วัน
   ค. มนต์ชัยมีอายุครบ 17 ปีบริบูรณ์ ในวันที่ 1 มกราคม ของปีเลือกตั้ง
   ง. ไม่มีสิทธิเลือกทุกคน
41. ผู้ใดจะลงสมัครรับเลือกตั้งต้องมีคุณสมบัติดังนี้ ยกเว้น
   ก. มีสัญชาติไทยโดยการเกิด
   ข. มีอายุไม่ต่ำกว่า 25 ปีบริบูรณ์ในวันเลือกตั้ง
   ค. มีวุฒิการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า
   ง. เป็นสมาชิกพรรคการเมืองเดียวเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่า 30 วัน
42. ตามรัฐธรรมนูญปัจจุบันสภาผู้แทนราษฎรมีกำหนดคราวละกี่ปี
   ก.  3  ปี      ข.  4  ปี     
ค.  5  ปี      ง.  6  ปี
43. สมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเริมตั้งแต่เมื่อใด
   ก.วันเลือกตั้ง
   ข. วันประกาศผลการเลือกตั้ง
   ค. วันรายงานตัวต่อตัวสภาผู้แทนราษฎร
   ง. วันแรกที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร
44. ข้อใดถือว่าสมาชิกภาพสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสิ้นสุดลง
   ก. ขาดประชุมเกิน 1 ใน 4 ของจำนวนวันประชุมในสมัยที่ประชุมที่กำหนดเวลา ไม่น้อยกว่า 120 วัน
       โดยไม่ได้รับอนุญาตจากประธานสภา
   ข. ถูกจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก ยกเว้นได้รับการรอการลงโทษ
   ค. พรรคเดิมที่ตนสังกัดอยู่ถูกยุบและไม่อาจเป็นสมาชิกพรรคอื่นได้ภายใน 120 วัน
   ง. ถูกทุกข้อ
45. พรรคการเมืองที่จะได้เสียงข้างมากในสภา ผู้แทนราษฎร ต้องมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในสังกัดจำนวนอย่างน้อยที่สุด
    ก.  201  เสียง      ข.  241  เสียง  
ค.  2581  เสียง      ง.  316  เสียง
46. หัวหน้าพรรคการเมืองที่จะเป็นผู้นำฝ่ายค้านในสภาต้องมี สมาชิกไม่น้อยกว่าเท่าใดของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าทีมีอยู่
      ของสภาผู้แทนราษฎร
   
ก.  1  ใน  3      ข.  1  ใน  4  
ค. ใน  5      ง.  2  ใน  5
47. การประชุมสภาผู้แทนราษฎรต้องมีสมาชิกเข้าร่วมประชุมไม่น้อยกว่ากี่คนของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ จึงจะถือว่าครบ องค์ประชุม
   ก.  1  ใน  3      ข.  กึ่งหนึ่ง  
ค.  2  ใน  3      ง.  3  ใน  4
48. การประชุมครั้งแรกนับแต่วันเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ต้องจัดให้มีการประชุมภายในกี่วัน
   ก. วัน         ข.  15  วัน  
ค.  30  วัน      ง.  45  วัน
49. สมาชิกวุฒิสภามีจำนวนทั้งสิ้นเท่าใด
   ก.  150   คน      ข.  200  คน  
ค.  250  คน      ง.  300  คน
50. สมาชิกวุฒิสภามีที่มาจาก
   ก.  การแต่งตั้ง         ข. การเลือกตั้ง
   ค. การเลือกตั้งและ   สรรหา      ง. ถูกทุกข้อ
51. วุฒิสมาชิกต้องมีอายุไม่ต่ำกว่ากี่ปี
   ก.  25  ปี         ข.  30  ปี     
ค.  35  ปี         ง.  40  ปี
52. อายุของวุฒิสมาชิกมีกำหนดคราวละกี่ปี
   ก.  2  ปี         ข.  4  ปี     
ค.  6  ปี         ง.  8  ปี
53. เมื่อวาระของสมาชิกวุฒิสภาที่มาจากการเลือกตั้งสิ้นสุดลงต้องกำหนดให้มีการเลือกตั้งใหม่ภายในกี่วัน
   ก.  30  วัน      ข. 45  วัน     
ค.  60  วัน      ง.  90  วัน
54. สมัยประชุมสามัญ ของรัฐสภาสมัยหนึ่งๆมีกำหนดกี่วัน
   ก.  60  วัน      ข.  90  วัน  
ค.  120  วัน      ง.  150  วัน
55. ในกรณีที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาทั้งสิงสภารวมกัน หรือสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมีจำนวนไม่น้อยกว่า หนึ่งในสามของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภา เข้าชื่อร้องขอให้มีการเรียกประชุมรัฐสภาเป็นการประชุม  สมัยวิสามัญ ใครเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ในการเรียกประชุมรัฐสภา คือ
   ก.ประธานรัฐสภา
   ข. ประธานสภาผู้แทนราษฎร
   ค. นายกรัฐมนตรี
   ง. ประธานองคมนตรี
56. การเลือกตั้ง การเปิดสมัยประชุมสภา และการยุบสภา  ต้องตราเป็น
   ก. พระราชบัญญัติ
   ข. พระราชกำหนด
   ค. พระราชกฤษฎีกา
   ง. พระบรมราชโองการ
57. คณะกรรมการเลือกตั้งมีกี่คน
   ก.  4  คน         ข.  5  คน     
ค.  7  คน         ง.  10  คน
58.กรรมการการเลือกตั้ง มีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละกี่ปี
   ก.  4  ปี         ข.  5  ปี     
ค.  6  ปี         ง.  7  ปี
59. ข้อใด มิใช่ อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการการเลือกตั้ง
   ก. สั่งให้พนักงานของรัฐวิสาหกิจปฏิบัติการทั้งหลายอัน ตำเป็นตามกฎหมาย
   ข. ประกาศผลการเลือกตั้งและการออกเสียงประชามติ
   ค. สั่งให้มีการเลือกตั้งใหม่
   ง. สืบสวนข้อเท็จจริงกรณีผู้มีสิทธิเลือกตั้งทำความผิดทางอาญาบริเวณเขตเลือกตั้ง
60. องค์การตามรัฐธรรมนูญ ในข้อใดทีมีสถานะต่างไปจากข้ออื่น
   ก. คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
   ข.ผู้ตรวจการแผ่นดิน
   ค. คณะกรรมการการเลือกตั้ง
   ง. คณะกรรมาการตรวจเงินแผ่นดิน
61. ตามบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 นั้น กำหนดให้องค์การอัยการมีฐานะเป็นอย่างไร
   ก. ส่วนราชการไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี
   ข. ส่วนราชการสังกัดรัฐสภา
   ค. หน่วยงานภายใต้การกำกับดูแลของคณะกรรมการตุลาการ
   ง. องค์กรตามรัฐธรรมนูญ
62. ร่างพระราชบัญญัติจะตราขึ้นเป็นกฎหมายได้
   ก. โดยคำแนะนำและยินยอมของสภาผู้แทนราษฎร
   ข. โดยการลงพระปรมาภิไธยของพระมหากษัตริย์
   ค. โดยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา
   ง. โดยคำแนะนำและยินยอมของวุฒิสภา
63. ร่างพระราชบัญญัติจะเสนอได้โดย
   ก. สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร         ข. สมาชิกวุฒิสภา
   ค. คณะรัฐมนตรี            ง. ถูกเฉพาะข้อ ก.  และ ค.
64. พระราชบัญญัติจะมีผลบังคับเป็นกฎหมายได้เมื่อ
   ก. พระมากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธยแล้ว
   ข. ได้ประกาศโดยเปิดเผยทางสื่อมวลชนแล้ว
   ค. รัฐสภาได้ให้ความเห็นชอบแล้ว
   ง. ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว
65. เมื่อร่างพระราชบัญญัติได้รับความเห็นชอบจากสภาแล้วนายกรัฐมนตรีต้องนำขึ้นทูลเกล้าฯภายในกี่วัน
   ก.  7  วัน         ข.  15  วัน  
ค.  20  วัน      ง. 30  วัน
66. สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจะเสนอร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงินได้ต่อเมื่อ
   ก. หัวหน้าพรรคการเมืองของตนมีคำรับรอง
   ข. มีคำรับรองของประธานสภาผู้แทนราษฎร
   ค. มีคำรับรองของประธานวุฒิสภา
   ง. มีคำรับรองของนายกรัฐมนตรี
67. สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจะเสนอร่างพระราชบัญญัติได้ต่อเมื่อ
   ก. พรรคการเมืองที่ตนสังกัดมีมติให้เสนอได้
   ข. ต้องมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไม่น้อยกว่า 20 คนรับรอง
   ค. วุฒิสภาให้การรับรองแล้ว
   ง. ถูกทั้งข้อ  ก.  และ  ข.
68. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธ   ศักราช 2550 กำหนดให้ประชาชนเสนอให้มีการถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งระดับสูง โดยต้องมีประชาชน ผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวนไม่น้อยกว่าเท่าใดเข้าชื่อร่วมกัน
   ก. หนึ่งหมื่นคน      ข. สองหมื่นคน
   ค. ห้าหมื่นคน      ง. หกหมื่นคน
69. วุฒิสภาต้องพิจารณาร่างพระราชบัญญัติที่สภาผู้แทนเสนอมาให้แล้วเสร็จภายในกำหนดกี่วัน
   ก.  30  วัน      ข.  45  วัน  
ค.  60  วัน      ง. 90 วัน
70. วุฒิสภาต้องพิจารณาร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยเงิน ภายในกี่วัน
   ก.  30  วัน      ข.  45  วัน  
ค.  60  วัน      ง. 90 วัน
71. การขอเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรีต้องมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเข้าชื่อเสนอญัตติ
     ไม่น้อยกว่า เท่าใดของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร
   ก.   1  ใน  3      ข.  2  ใน  3  
ค.  1  ใน  5      ง.  2  ใน  5
72. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธ   ศักราช 2550 กำหนดให้วุฒิสภาใช้วิธีการใดควบคุมการบริหารราชการแผ่นดิน
   ก. การตั้งกระทู้ถาม
   ข. การเปิดอภิปรายทั่วไป
   ค. การควบคุมโดยคณะกรรมาธิการ
   ง. ถูกทุกข้อ
73. การอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีเป็นรายบุคคลต้องมีจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไม่น้อยกว่าเท่าใด
      ของ สมาชิกทั้งหมดเข้าชื่อกัน
   ก.   1  ใน  3      ข.  1   ใน  4  
ค.  1  ใน  5      ง.  1  ใน  6
74. สมาชิกวุฒิสภามีสิทธิเข้าชื่ออภิปรายทั่วไปเพื่อให้คณะรัฐมนตรีแถลงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการบริหารราชการแผ่นดิน
      แต่ต้องมีจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าใด
   ก.   1  ใน  3      ข.  1   ใน  4  
ค.  1  ใน  5      ง.  1  ใน  6
75. กรณีใดที่รัฐสภา ต้องประชุมร่วมกัน
   ก. การแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรี
   ข. การเปิดอภิปรายทั่วไปของรัฐบาล
   ค. การให้ความเห็นชอบในการสืบราชสมบัติ
   ง. ถูกทุกข้อ
76. ผู้ตรวจการแผ่นดินมีได้ไม่เกินกี่คน และ อยู่ในวาระคราวละกี่ปี
   ก. ไม่เกิน 2 คน ? วาระละ 2 ปี
   ข. ไม่เกิน 3 คน ? วาระละ 6 ปี
   ค. ไม่เกิน 4 คน ? วาระละ 4 ปี
   ง. ไม่เกิน 5 คน ? วาระละ 5 ปี
77. คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติมีกี่คน และอยู่ในตำแหน่งคราวละกี่ปี
   ก. คนอยู่ในตำแหน่งคราวละ 3 ปี
   ข. คนอยู่ในตำแหน่งคราวละ 6 ปี
   ค. คนอยู่ในตำแหน่งคราวละ 3 ปี
   ง. คนอยู่ในตำแหน่งคราวละ 6 ปี
78. รัฐธรรมนูญปัจจุบันกำหนดให้มีคณะรัฐมนตรีไม่เกินกี่คน
   ก.  35  คน      ข.  36  คน  
ค.  38  คน      ง.  48  คน
79. เมื่อเรียกประชุมสภาเป็นครั้งแรกแล้วต้องตั้งนายกรัฐมนตรี ให้แล้วเสร็จภายในกี่วัน
   ก. 7 วัน         ข. 30  วัน     
ค.  30  วัน      ง.  60  วัน
80. การเสนอชื่อนายกรัฐมนตรีต้องมีผู้แทนราษฎรรับรองไม่น้อยกว่ากี่คนของสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร
   ก.  1  ใน  5      ข.  2  ใน  3  
ค.  2  ใน  5      ง.  3  ใน  4
81. รัฐมนตรีจะต้องพ้นจากความเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เมื่อครบกำหนดกี่วันนับถัดจากวันที่มีบรมราชโองการ
   ก.  15  วัน      ข.  20  วัน  
ค.  30  วัน      ง. ไม่มีข้อใดถูก
82. รัฐมนตรีต้องมีอายุไม่ต่ำกว่ากี่ปี
   ก.  25  ปี         ข.  35  ปี     
ค.  40  ปี         ง.  45   ปี
83. นับแต่วันเข้ารับหน้าที่คณะรัฐมนตรีต้องแถลงนโยบายต่อรัฐสภาภายในกี่วัน
   ก.  7  วัน         ข.  15  วัน  
ค.  18  วัน      ง.  21  วัน
84. ข้อใด ไม่ถูกต้อง เกี่ยวกับการออกเสียงประชามติ
   ก. ต้องเป็นเรื่องกระทบต่อผลประโยชน์ได้เสียของประเทศชาติหรือประชาชน
   ข. ต้องประกาศในราชกิจจานุเบกษาให้มีการออกเสียงประชามติ
   ค. หากเกี่ยวกับบุคคลใดบุคคลหนึ่งจะกระทำมิได้ ยกเว้นคณะบุคคล  
   ง. นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีอาจปรึกษาสภาผู้แทนราษฎรและประธานวุฒิสภา
       เพื่อให้มีการลง ประชามติ
85. ประชากรผู้มีสิทธิออกเสียงประชามติ ต้องมีคุณสมบัติแอย่างไร
   ก. เป็นผู้มีสิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
   ข. ต้องเป็นผู้บรรลุนิติภาวะ
   ค. ต้องไม่เคยต้องโทษในคดีอาญา
   ง. ถูกทุกข้อ
86. โดยทั่วไป กรณีใดถือว่าประชาชนเห็นชอบด้วยกับเรื่องที่ออกเสียงประชามตินั้น
   ก. มีผู้ออกเสียงเห็นชอบ มากกว่า 1 ใน ของจำนวนผู้มีสิทธิ
   ข. มีผู้ออกเสียงเห็นชอบ มากกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนผู้มีสิทธิ
   ค. มีผู้ออกเสียงเห็นชอบ มากกว่า 1 ใน ของจำนวนผู้มาใช้สิทธิ
   ง. มีผู้ออกเสียงเห็นชอบ มากกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนผู้มาใช้สิทธิ
87. องค์กรใดที่มีอำนาจหน้าที่สืบสวนสอบสวน เพื่อหาข้อเท็จจริงและวินิจฉัยชี้ขาดปัญหาหรือข้อโต้แย้งเกี่ยวกับ
      การออกเสียงประชามติ
   ก. ศาลรัฐธรรมนูญ
   ข. ศาลปกครอง
   ค. คณะกรรมการการเลือกตั้ง
   ง. คณะรัฐมนตรี
88. ผู้มีอำนาจในการประกาศใช้และยกเลิกกฎอัยการศึกตามกฎหมายคือใคร
   ก. พระมหากษัตริย์
   ข. ประธานรัฐสภา
   ค. ประธานวุฒิสภา
   ง. นายกรัฐมนตรี
89. ผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการตั้งรัฐมนตรี คือ
   ก. ประธานสภาผู้แทนราษฎร
   ข. ประธานรัฐสภา
   ค. ประธานองคมนตรี
   ง. นายกรัฐมนตรี
90. ตามรัฐธรรมนูญไทยปัจจุบัน กฎหมายใดคือกฎหมายที่รัฐบาลสามารถประกาศใชบังคับได้เองในทันที
       แต่ต้องมาขอความเห็นชอบจากรัฐสภาในภายหลัง
   ก. พระราชกฤษฎีกา
   ข. พระบรมราชโองการ
   ค. พระราชกำหนด
   ง. พระราชบัญญัติในภาวะฉุกเฉิน
91. การออกกฎหมายโดยฝ่ายบริหารกรณีที่มีความจำเป็นเร่งด่วนเพื่อป้องกันภัยพิบัติสาธารณะ คือข้อใด
   ก. พระบรมราชโองการ
   ข. พระราชกำหนด
   ค. พระราชบัญญัติ
   ง. พระราชกฤษฎีกา
92. การเสนอกฎมายโดยผู้มีสิทธิเลือกตั้ง จะต้องมีจำนวนไม่น้อยกว่า
   ก.  10,000  คน      ข. 20,000  คน
   ค.  40,000  คน      ง. 50,000  คน
93. สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจะต้อดงกระทู้ถามด้วยวาจาในเรื่องการบริหารราชการแผ่นดินได้เรื่องละไม่เกิน
   ก.  1  ครั้ง      ข.  2  ครั้ง  
ค.  3  ครั้ง      ง. ไม่จำกัดจำนวนครั้ง
94. ศาลรัฐธรรมนูญประกอบด้วยปรานและตุลาการอื่นรวมกี่คน
ก.  7 คน          ข.  9  คน     
ค.  11  คน      ง. 13  คน
95. ผู้ทรงคุณวุฒิในศาลรัฐธรรมนูญต้องมีกายุไม่ต่ำกว่ากี่ปี
   ก.  35  ปี         ข.  40  ปี     
ค.  45  ปี         ง.  50  ปี
96. องค์คณะผู้พิพากษาในศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง มีจำนวนกี่คน
   ก.  5  คน         ข.  7  คน     
ค.  9  คน         ง.  11  คน
97. อำนาจพิจารณาพิพากษาคดีที่เป็นข้อพิพาทระหว่าง ร.ท. น้อย  กับ  ป้าส้มลิ้ม  แม่ค้าขายปลาสดเรือ่งหมิ่นประมาท
       เป็นอำนาจ
   ก. ศาลยุติธรรม      ข. ศาลปกครอง
   ค.ศาลรัฐธรรมนูญ      ง. ศาลทหาร
98. พนักงานไฟฟ้าปักเสาไฟฟ้าทำให้บ้านยายสาย ได้รับความเสียหาย ยายสายควรไปขอความเป็นธรรมจากศาลใด
   ก. ศาลยุติธรรม      ข. ศาลปกครอง
   ค.ศาลรัฐธรรมนูญ      ง. ศาลทหาร
99. คำสั่งยุบพรรคการเมืองกระทำโดย
   ก. คณะกรรมการการเลือกตั้ง
   ข. ศาลยุติธรรม
   ค. ศาลปกครอง
   ง. ศาลรัฐธรรมนูญ
100.ในกรณีที่ไม่มีบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญบังคับแก่กรณีใด รัฐธรรมนูญฯ  พ.ศ. 2550 ได้กำหนดให้ใช้วิธีการใด
   ในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว
   ก. ส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย
   ข. เป็นหน้าที่ของรัฐบาลหรือรัฐสภาที่จะดำเนินการพิจารณาสร้างบรรทัดฐานขึ้นใหม่
   ค. ให้วินิจฉัยกรณีนั้นไปตามประเพณีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
   ง. ให้กรณีดังกล่าวเป็นโมฆะ ไม่สามารถดำเนินการใดๆ ต่อไปได้
       101.ในกรณีที่เจ้าหน้าที่ของรัฐปฏิบัติการใดๆ ซึ่งมีปัญหาเกี่ยวกับความชอบหรือความเหมาะสมในการใช้อำนาจรัฐ
          องค์กรใดมีอำนาจเสนอเรื่องพร้อมกับความเห็นต่อศาลปกครองหรือศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อพิจารณาวินิจฉัยตาม
          รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550
           ก. คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
           ข. คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
                ค. คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน
           ง. ผู้ตรวจการแผ่นดิน
102. ข้อใดกล่าวถูกต้องที่สุดเกี่ยวกับการปกครองส่วนท้องถิ่นตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2550
           ก. สมาชิกสภาท้องถิ่น คณะผู้บริหารท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น มีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละ 2 ปี
           ข. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องมีสภาท้องถิ่นและผู้บริหารท้องถิ่น
           ค.องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องมีสภาท้องถิ่นและคณะผู้บริหารท้องถิ่นที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรงของ
           ประชาชนเท่านั้น
    ง.คณะผู้บริหารท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น จะเป็นข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งหรือเงินเดือนประจำ พนักงานหรือลูกจ้าง 
        ของหน่วยงานของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจของข้าราชการส่วนท้องถิ่นมิได้
103. ตามรัฐธรรมนูญฯ  พ.ศ.  2550 ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับการกำกับดูแลองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
   ก. ต้องเป็นไปเพื่อการคุ้มครองประโยชน์ของประเทศเป็นส่วนรวม
   ข. ต้องทำเท่าที่จำเป็นตามที่กฎหมายบัญญัติ
   ค. ต้องเป็นไปเพื่อการคุ้มครองประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่น
   ง. นโยบายของรัฐไม่จำเป็นต้องคำนึงถึงเจตนารมณ์ของประชาชนในท้องถิ่นโดยเฉพาะในการจัดตั้งองค์กรปกครอง
       ส่วนท้องถิ่นขนาดใหญ่
104. หลักสำคัญของการจัดการปกครองท้องถิ่นตามรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน
   ก. จะต้องมีสภาท้องถิ่นและคณะผู้บริหารมาจากการเลือกตั้งตามกำหนดเวลา
   ข. สมาชิกสภาและคณะผู้บริหารท้องถิ่นมาจากการเลือกตั้งเป็นหลัก ถ้าจำเป็นต้องมีสมาชิกประเภทแต่งตั้ง จะต้อง
       มีจำนวนน้อยกว่าที่มาจารกการเลือกตั้ง
   ค.ให้มีสมาชิกสภาท้องถิ่นที่มาจากการเลือกตั้ง ผสมกับสมาชิกที่มาจากการเลือกตั้งเพื่อประสานประโยชน์ระหว่าง
            ราชการส่วนภูมิภาคและส่วนท้องถิ่น
   ง. ให้จัดการกระจายอำนาจให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการปกครองมากที่สุดทั้งระดับ จังหวัด อำเภอ และตำบล
105. สมาชิกสภาท้องถิ่น มีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละกี่ปี
   ก.  2  ปี         ข.  3  ปี     
   ค.  4  ปี         ง.  5  ปี
106. ในรัฐธรรมนูญกำหนดให้มีองค์กรใดในการบริหารงานบุคคลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อสร้างระบบ
    คุ้มครองคุณธรรม
   ก. คณะกรรมการข้าราชการท้องถิ่น
   ข. คระกรรมการพนักงานส่วนท้องถิ่น
   ค. องค์กรพิทักษ์ระบบคุณธรรม
   ง. องค์กรคุ้มครองข้าราชการส่วนท้องถิ่น
107. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช  2550  กำหนดให้องค์กรใดมีอำนาจถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่ง
   ระดับสูง กรณีมีพฤติการณ์ร่ำรวยผิดปกติ หรือส่อไปในทางทุจริต
   ก. รัฐสภา      ข. สภาผู้แทนราษฎร  
   ค. วุฒิสภา      ง. ศาลรัฐธรรมนูญ
108. คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ มีจำนวนกี่คน
   ก.  6  คน         ข.  7  คน     
   ค.  8  คน         ง.  9  คน
109. คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ  ดำรงตำแหน่งคราวละกี่ปี
   ก.  4  ปี         ข.  6  ปี     
   ค.  9  ปี         ง.  11  ปี
110. อำนาจพ
110. อำนาจพิจารณาพิพากษาข้าราชการการเมือง ผู้ถูกกล่าวหาว่า ร่ำรวยผิดปกติอยู่ในอำนาจของศาลใด
   ก.ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
   ข. ศาลรัฐธรรมนูญ
   ค. ศาลปกครองสูงสุด
   ง. ประธานศาลฎีกา
111. การถอดถอนข้าราชการการเมืองชั้นผู้ใหญ่ออกจากตำแหน่งได้นั้นประชานก็มีสิทธิเข้าชื่อร้องขอต่อประธานวุฒิสภาได้
   แต้ต้องรวมกันไม่น้อยกว่ากี่คน
   ก.  20,000  คน      ข.  30,000  คน
   ค.  40,000  คน      ง.  50,000  คน
112. ตามรัฐธรรมนูญ ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองมีหน้าที่ต้องยื่นบัญชีแสดงราบการทรัพย์สินและหนี้สินของบุคคลใดบ้าง
   ก. ตนเอง  ภริยา  บุตร  และบุตรบุญธรรม
   ข. ตนเอง  คู่สมรสและบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ
   ค. ตนเอง  ภริยา  แลกะบุตรทุกคน
   ง. ตนเอง  คู่สมรส  และบุตรบุญธรรม
113. การยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินตามรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน จะต้องยื่นต่อ
   ก. คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน
   ข. คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ
   ค. คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
   ง. สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
114. ผู้ดำรงตำแหน่งใดที่ต้องยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สิน
   ก. นายกรัฐมนตรี
   ข. ผู้บริหารท้องถิ่นตามที่กฎหมายกำหนด
   ค. สมาชิกวุฒิสภา
   ง. ถูกทุกข้อ
115. ข้อใดกล่าวถูกต้องที่สุด เกี่ยวกับระยะเวลาการยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สิน
   ก. ยื่นภายใน 30 วัน นับแต่วันเข้ารับและพ้นจากตำแหน่ง
   ข. ยื่นภายใน 60 วัน นับแต่วันเข้ารับและพ้นจากตำแหน่ง
   ค. ยื่นภายใน 30 วัน นับแต่วันเข้ารับตำแหน่ง
   ง. ยื่นภายใน 60 วัน นับแต่วันเข้ารับ / วันพ้นจากตำแหน่งและภายใน 30 วันนับแต่วันพ้นจากตำแหน่งมาแล้ว 1 ปี
116. บัญชีรายการทรัพย์สินและหนี้สินของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองใดที่จะต้องเปิดเผยให้สาธารณชนทราบ
   ก. นายกรัฐมนตรี      ข. รัฐมนตรี
   ค. สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และสมาชิกวุฒิสภา
   ง. ถูกทุกข้อ
117. ข้อใดกล่าวถูกต้องที่สุดเกี่ยวกับคณะกรรมการ  ป.ป.ช.
   ก. ประกอบด้วยประธานคนหนึ่ง และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิอื่น  อีก  10  คน
   ข. พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามคำแนะนำของสภาผู้แทนราษฎร
   ค. มีวาระการดำรงตำแหน่ง ปี  และดำรงตำแหน่งได้เพียงวาระเดียว
   ง. คณะรัฐมนตรีเป็นผู้สรรหาและคัดเลือก
118. ตำแหน่งใดบ้างที่วุฒิสภามีอำนาจถอดถอนจากตำแหน่งffice ffice" />
   ก. นายกรัฐมนตรี   รัฐมนตรี
   ข. ประธานศาลฏีกา ประธานศาลรัฐธรรมนูญ
   ค. ผู้พิพากษา พนักงานอัยการ
   ง. ถูกทุกข้อ
119. มติของวุฒิสภาในการถอดถอนผู้ใดออกจากตำแหน่งจะต้องได้คะแนนเสียงเท่าใดจึงจะมีผลตามรัฐธรรมนูญ
   ก.ไม่น้อยกว่า  2  ใน  3
   ข.ไม่น้อยกว่า  3  ใน  5
   ค. เกินกว่า  1  ใน  2
   ง.  เกินกว่า  1  ใน  4
120. ข้อใดกล่าวถูกต้อง
   ก. คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินประกอบด้วย ประธานคนหนึ่งและกรรมการอื่นอีก 9 คน
   ข. ผู้บังคับบัญชาของหน่วยงานธุรการคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน คือผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน
   ค. พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน และผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน ตามคำแนะนำของรัฐสภา
   ง. ถูกทุกข้อ
121. กรรมการตรวจเงินแผ่นดินมีวาระการดำรงตำแหน่งเท่าใด
   ก.  6 ปี  วาระเดียว      ข.  7  ปี  วาระเดียว
   ค.  9 ปี  วาระเดียว      ง.  10  ปี ไม่จำกัดวาระ
122. รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันมีผลบังคับใช้ตั้งแต่
   ก.   1  สิงหาคม  2550
   ข.   17 สิงหาคม  2550
   ค.   24 สิงหาคม  2550
   ง.   25 สิงหาคม  2500
123. ในการเสนอขอแก้ไขในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ใครเป็นผู้มีสิทธิขอเสนอ
   ก. พรรคการเมือง     
   ข.นายกรัฐมนตรี
   ค. ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งไม่น้อยกว่า 30,000 คน
   ง. สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวนไม่น้อยกว่า  1  ใน  5 ของจำนวนสมาชิกเท่าที่มีอยู่
124. การออกเสียงลงคะแนนในการพิจารณาแก้ไข ในรัฐธรรมนูญ จะต้องได้คะแนนเสียง
   ก. มากกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกรัฐสภา
   ข. มากกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกรัฐสภาเท่าที่มีอยู่
   ค. สองในสามของจำนวนสมาชิกรัฐสภา
   ง. สองในสามของจำนวนสมาชิกรัฐสภาเท่าที่มีอยู่
125. กฎหมายที่ใช้ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรคือข้อใด
   ก. พระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรคือข้อใด
   ข. พระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา
   ค. พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
   ง. พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิวุฒิสภา
126. การกระทำในข้อใดที่กฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ถือว่าเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย
   ก. นายสมยศ  สัญญาว่าจะให้ปากกา 1 ด้าม ถ้านางสมศรีเลือกผู้สมัครรับสมัครหมายเลข 2 ของพรรค
   ข. ผู้สมัครรับเลือกตั้งคนหนึ่งเสนอว่า จะนำงบประมาณส่วนหนึ่งมาปรับปรุงศาลาการเปรียญ
   ค. นายพรเทพ  จัดให้มีหนังกลางแปลงในระหว่างการปราศรัยหาเสียงของผู้สมัครรับเลือกตั้ง
   ง. ถูกทุกข้อ
127. ในวันเลือกตั้งต้องเปิดให้ลงคะแนนตามช่วงเวลาใด
   ก. ตั้งแต่เวลา  07.00 น. ถึง 15.00 น.
   ข. ตั้งแต่เวลา  08.00 น. ถึง 15.00 น.
   ค. ตั้งแต่เวลา  08.30 น. ถึง 15.30 น.
   ง. ตั้งแต่เวลา  09.00 น. ถึง 16.00 น.
128. ในการกำหนดหน่วยเลือกตั้งให้ถือจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งเท่าใดเป็นประมาณ
   ก.  400  คน      ข.  500  คน  
   ค.  600  คน      ง.  800  คน
129. ข้อใดไม่ใช่เจ้าพนักงานผู้ดำเนินการเลือกตั้ง
   ก. ผู้อำนวยการเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้ง
   ข. คณะกรรมการการเลือกตั้งประจำหน่วยเลือกตั้ง
   ค. ผู้อำนวยการประจำหน่วยเลือกตั้ง
   ง. เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยประจำหน่วยเลือกตั้ง
130. การเลือกตั้งจากบัญชีรายชื่อ เป็นการเลือกตั้งประเภทใด
   ก. แบบเขตเดียวคนเดียว
   ข. แบบแบ่งเขตเลือกตั้ง
   ค. แบบรวมเขตเลือกตั้ง
   ง. แบบสัดส่วน
131. การประกาศหน่วยเลือกตั้งต้องกระทำก่อนวันเลือกตั้งไม่น้อยกว่ากี่วัน
   ก.  7  วัน         ข.  10  วัน  
   ค.  15  วัน      ง.  20  วัน
132. กรณีที่ไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้งได้เนื่องจากเหตุอันควร จะต้องแจ้งเหตุไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้งต่อ
   ก. บุคคลที่คณะกรรมการการเลือกตั้งแต่งตั้งในแต่ละเขตเลือกตั้ง
   ข. นายอำเภอ
   ค. นายทะเบียนอำเภอ
   ง. ผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้ง

133. คณะกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้งมีจำนวน
   ก. ไม่น้อยกว่า  5  คน
   ข. ไม่น้อยกว่า  7  คน
   ค. ไม่น้อยกว่า  9  คน
   ง. ไม่น้อยกว่า  11 คน
134. การไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งและมิได้แจ้งเหตุ จะต้องไม่เสียสิทธิในข้อใด
   ก. การสมัครรับเลือกตั้งเป็น สส.
   ข. การยื่นคำร้องคัดค้านการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา
   ค. การสมัครรับเลือกตั้งเป็นกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน
   ง. การเป็นคณะกรรมการต่างๆตามที่กฎหมายกำหนด
135. ห้ามการโฆษณาหาเสียงเลือกตั้งแก่ผู้สมัครหรือพรรคการเมืองใด ในช่วงเวลา
   ก. ตั้งแต่ 12.00 น. ของวันก่อนเลือกตั้งถึง 08.00 น. ของวันหลังการเลือกตั้ง
   ข. ตั้งแต่ 12.00 น. ของวันก่อนเลือกตั้งถึง 24.00 น. ของวันการเลือกตั้ง
   ค. ตั้งแต่ 18.00 น. ของวันก่อนเลือกตั้งถึง 18.00 น. ของวันหลังการเลือกตั้ง
   ง. ตั้งแต่ 18.00 น. ของวันก่อนเลือกตั้งถึง 24.00 น. ของวันการเลือกตั้ง
136. ผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ต้องยื่นรายการค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการเลือกตั้งให้ถูกต้องตามความเป็นจริงภายใน
   ก. 30  วัน หลังจากวันเลือกตั้ง
   ข. 60  วัน  หลังจากวันเลือกตั้ง
   ค. 90  วัน  หลังจากวันเลือกตั้ง
   ง. 120  วัน หลังจากวันเลือกตั้ง
137. ในการคำนวณสัดส่วนเพื่อหาผู้ได้รับเลือกตั้งแบบสัดส่วนในแต่ละเขตเลือกตั้งให้นำคะแนนรวมของทุกพรรคการเมืองหารด้วย
   ก.   8         ข.  10     
   ค.  จำนวนพรรคการเมือง   ง. ไม่มีข้อใดถูก
138. การคัดค้านการเลือกตั้ง จะต้องกระทำภายใน
   ก.  7  วัน นับแต่วันประกาศผลการเลือกตั้ง
   ข.  10 วัน นับแต่วันประกาศผลการเลือกตั้ง
   ค.  15 วัน นับแต่วันประกาศผลการเลือกตั้ง
   ง.  30  วัน นับแต่วันประกาศผลการเลือกตั้ง
เฉลย
1.            2.           3.            4.       5.    6.    7.    8.          9.        10.    
11.          12.        13.         14.     15.    16.    17.    18.       19.         20.
21.          22.        23.         24.     25.    26.    27.   28.        29.        30.  
31.          32.        33.         34.     35.    36.    37.    38.        39.        40.  
41.          42.        43.         44.     45.    46.    47.    48.        49.        50.        
51.          52.        53.         54.     55.    56.    57.    58.         59.         60.
61.          62.         63.         64.     65.    66.    67.    68.        69.        70.
71.         72.          73.         74.     75.    76.    77.    78.        79.         80.    
81.          82.         83.         84.     85.    86.    87.    88.        89.         90.
91.          92.        93.         94.     95.    96.    97.    98.        99.         100.
101.        102.       103.       104.     105.   106.    107.    108.    109.         110.      
111.        112.       113.     114.    115.    116.    117.    118.       119.        120.
121.        122.       123.     124.    125.    126.    127.    128.        129.        130.
131.         132.       133.     134.    135.    136.    137.    138.



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น