แนวข้อสอบ ธกส

แนวข้อสอบ ธกส. ที่ทั้ง 2 ตำแหน่งต้องทราบ
ตัวอย่างแนวข้อสอบ
1.   แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 มีผลบังคับใช้ในช่วงเวลาใด
1. 1 ต.ค. 2548 1 ก.ย. 2554                 2. 1 ต.ค. 2549 30 ก.ย. 2554
3.  1 ม.ค. 2548 1 ก.ย. 2554                                4. 1 ม.ค. 2550 31 ธ.ค. 2554
2.    ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ความพอเพียงจะประกอบไปด้วย 3 ลักษณะ คือ
        1. พอประมาณ มีเหตุผล มีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว
        2. พอประมาณ มีเหตุผล มีหลักธรรมาภิบาล
        3. พอประมาณ มีเงื่อนไขความรู้ มีเงื่อนไขคุณธรรม
        4. พอประมาณ มีเหตุผล และมีเงื่อนไขคุณธรรม
3.    เงื่อนไขปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงคือ
        1. เงื่อนไขความรู้ เงื่อนไขพอประมาณ
        2. เงื่อนไขพอประมาณ เงื่อนไขความมีเหตุผล และเงื่อนไขความมีภูมิคุ้มกัน
        3. เงื่อนไขความรู้และเงื่อนไขคุณธรรม
        4. เงื่อนไขความรู้ เงื่อนไขพอประมาณ และเงื่อนไขคุณธรรม
4.    การประชุม G20 จัดขึ้นที่
        1. ลอนดอน                  2. วอชิงตัน ดีซี                    3. กรุงเฮก             4. กรุงเทพมหานคร
5.    การประชุมอาเซียนซัมมิท + 6 ,   ประเทศที่เป็นผู้สังเกตการณ์ + 6 ซึ่งเพิ่มจาก + 3  คือ
        1. อินเดีย ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์                           2. ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ จีน
        3. จีน ญี่ปุ่น อินเดีย                                                    4. จีน ญี่ปุ่น นิวซีแลนด์
6.    ข้อดีของการนำแผนยุทธศาสตร์มาใช้ในกระบวนการจัดทำแผนชาติ คือข้อใด
        1. การมีส่วนร่วมจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง กำหนดวิสัยทัศน์ร่วมกัน และมีเป้าหมายเดียวกัน
        2. เลือกทำเฉพาะเรื่องที่มีความสำคัญสูง และจำเป็นเร่งด่วนเท่านั้น
        3. มีความยืดหยุ่น                                                        4. ถูกทุกข้อ
7.    แผน พัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับใด ที่เป็นจุดเริ่มต้นของการนำแนวคิดและกระบวนการจัดทำแผนยุทธศาสตร์มาใช้เป็น เครื่องมือของรัฐในการวางแผนพัฒนาประเทศเป็นครั้งแรก
        1. แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 7                                          2. แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8                 
        3. แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9                                          4. แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10
8.    แนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในแผนพัฒนาฯ นำไปใช้พัฒนาในระดับสังคมใด จึงจะประสบความสำเร็จมากที่สุด
        1. ระดับครอบครัว      2. ระดับชุมชน                    3. ระดับรัฐ                           4. ทุกระดับการพัฒนา
9.    แนวความคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระราชทานพระราชดำรัสให้แก่ประชาชนเมื่อใด
        1. 1 ม.ค. 2540            2. 4 ธ.ค. 2540                     3. 1 ม.ค. 2541                    4. 4 ธ.ค. 2541
10. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 เป็นแผนยุทธศาสตร์ระยะใด
      1. ระยะสั้น                  2. ระยะปานกลาง               3. ระยะยาว                          4. ระยะชั่วคราว
11.  แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 1 เริ่มใช้เมื่อใด
        1. 2501                         2. 2503                                  3. 2504                                  4. 2505
12.  หลักบริหารจัดการที่ดีประกอบด้วยอะไรบ้าง
        1. หลักการมีส่วนร่วม หลักความคุ้มค่า                 2. หลักการรับผิดชอบ  หลักการคุ้มค่า
        3. หลักการโปร่งใส หลักนิติธรรม                          4. ถูกทุกข้อ
13.  ตัวเลขควรจำตามแผนพัฒนาฯ ฉบับ 10
เป้าหมาย
เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ดังกล่าว ได้กำหนดเป้าหมายการพัฒนาของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 ดังนี้
(1) เป้าหมายการพัฒนาคุณภาพคน ให้ คนไทยทุกคนได้รับการพัฒนาทั้งทางร่างกาย จิตใจ ความรู้ ความสามารถ ทักษะการประกอบอาชีพ และมีความมั่นคงในการดำรงชีวิตครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมายเพื่อเสริมสร้าง ศักยภาพให้กับตนเองที่จะนำไปสู่ความเข้มแข็งของครอบครัว ชุมชน และสังคมไทย
- โดยเพิ่มจำนวนปีการศึกษาเฉลี่ยของคนไทยเป็น 10 ปี
- พัฒนากำลังแรงงานระดับกลางที่มีคุณภาพเพิ่มเป็นร้อยละ 60 ของกำลังแรงงานทั้งหมด
- โดยรายได้เฉลี่ยของแรงงานเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.5
- เพิ่มสัดส่วนนักวิจัยเป็น 10 คน ต่อประชากร 10,000 คน
- กำหนดให้อายุคาดเฉลี่ยของคนไทยสูงขึ้นเป็น 80 ปี
- การลดอัตราเพิ่มของการเจ็บป่วยด้วยโรคป้องกันได้ใน 5 อันดับแรก คือ หัวใจ ความดันโลหิตสูง เบาหวาน มะเร็ง และหลอดเลือดสมองและนำไปสู่การเพิ่มผลิตภาพแรงงาน
- ลดรายจ่ายด้านสุขภาพร้อยละ 10
(2) เป้าหมายการพัฒนาชุมชนและแก้ปัญหาความยากจน พัฒนา ให้ทุกชุมชนมีแผนชุมชนแบบมีส่วนร่วม และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนำแผนชุมชนไปใช้ประกอบการจัดสรรงบประมาณ ปัญหาอาชญากรรม ยาเสพติด
- ลดคดีอาชญากรรมลงร้อยละ 10
- ขยายโอกาสการเข้าถึงแหล่งทุน การมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ
- ลดสัดส่วนผู้อยู่ใต้เส้นความยากจนลงเหลือร้อยละ 4 ภายในปี 2554
(3) เป้าหมายด้านเศรษฐกิจ
-  ปรับโครงสร้างเศรษฐกิจให้มีความสมดุลและยั่งยืนโดยให้สัดส่วนภาคเศรษฐกิจในประเทศต่อภาคการค้าระหว่างประเทศเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 75 ภายในปี 2554
- ผลิตภาพการผลิตรวมเพิ่มขึ้นไม่ต่ำกว่าร้อยละ 3 ต่อปี
- อัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยไม่เกินร้อยละ 4 ต่อปี
- สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ ไม่เกินร้อยละ 50
- ความยืดหยุ่นการใช้พลังงานเฉลี่ยไม่เกิน 1 : 1 ในระยะของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10
- สัดส่วนรายได้ของกลุ่มที่มีรายได้สูงร้อยละ 20 ระดับบนต่อรายได้ของกลุ่มที่มีรายได้น้อยร้อยละ 20 ระดับล่าง ไม่เกินร้อยละ 10 ภายในปี 2554
- สัดส่วนผลผลิตของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ เป็นร้อยละ 40 ภายในปี 2554
(4) เป้าหมายการสร้างความมั่นคงของฐานทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม
- รักษาความอุดมสมบูรณ์ของฐานทรัพยากรและความหลากหลายทางชีวภาพโดยให้มีพื้นที่ป่าไม้ไว้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 33 และต้องเป็นพื้นที่ป่าอนุรักษ์ไม่น้อยกว่าร้อยละ 18 ของพื้นที่ประเทศ
- รักษาความอุดมสมบูรณ์ของระบบนิเวศน์ในเขตพื้นที่ชายฝั่งและพื้นที่ชีวมลฑล รักษาพื้นที่ทำการเกษตรในเขตชลประทานไว้ไม่น้อยกว่า 31 ล้านไร่
- รักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมต่อการดำรงคุณภาพชีวิตที่ดี และไม่เป็นภัยคุกคามต่อระบบนิเวศ โดยรักษาคุณภาพของแหล่งน้ำอยู่ในเกณฑ์ตั้งแต่ระดับพอใช้ขึ้นไปมีสัดส่วนไม่ น้อยกว่าร้อยละ 85
- คุณภาพอากาศอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน โดยเฉพาะฝุ่นละอองขนาดเล็ก(PM10) ต้องมีค่าเฉลี่ย 24 ชั่วโมงไม่เกิน 120 มก./ลบ..
- อัตราการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ต่อประชากรลดลงร้อยละ 5 จากปี 2545 คือไม่เกิน 3.5 ตัน/คน/ปี - -
- ควบคุมอัตราการผลิตขยะในเขตเมืองไม่ให้เกิน 1 กก./คน/วัน
- จัดการของเสียอันตรายจากชุมชนให้ได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 30
(5) เป้าหมายด้านธรรมาภิบาล
- มุ่งให้ธรรมาภิบาลของประเทศดีขึ้น มีคะแนนภาพลักษณ์ของความโปร่งใสอยู่ที่ 5.0 ภายในปี 2554
- ระบบราชการมีขนาดที่เหมาะสม และมีการดำเนินงานที่คุ้มค่าเพิ่มขึ้น
- ลดกำลังคนภาคราชการส่วนกลางให้ได้ร้อยละ 10 ภายในปี 2554
- ธรรมาภิบาลในภาคธุรกิจเอกชนเพิ่มขึ้น ท้องถิ่นมีขีดความสามารถในการจัดเก็บรายได้และมีอิสระในการพึ่งตนเองมากขึ้น และภาคประชาชนมีความเข้มแข็ง รู้สิทธิ หน้าที่ และมีส่วนร่วมมากขึ้นในการตัดสินใจและรับผิดชอบในการบริหารจัดการประเทศ รวมทั้งมีการศึกษาวิจัย
- พัฒนาองค์ความรู้ในด้านวัฒนธรรมประชาธิปไตย วัฒนธรรมธรรมาภิบาล และวัฒนธรรมสันติวิธี จำนวนปีละไม่ต่ำกว่า 20 เรื่อง

14.  วิสัยทัศน์ของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 คือ
        1. มุ่งพัฒนาประเทศไทยสู่สังคมอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน คนไทยมีคุณธรรม ควบคู่ความรอบรู้ รู้เท่าทันโลก ครอบครัวอบอุ่น ชุมชนเข้มแข็ง สังคมสันติสุข เศรษฐกิจมีคุณภาพมีเสถียรภาพ และมีความเป็นธรรม สิ่งแวดล้อมมีคุณภาพและทรัพยากรธรรมชาติยั่งยืน อยู่ภายใต้ระบบบริหารจัดการประเทศที่มีธรรมาภิบาล ดำรงไว้ซึ่งระบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และอยู่ในประชาคมโลกได้อย่างมีศักดิ์ศรี
        2. มุ่งพัฒนาประเทศไทยสู่สังคมอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน คนไทยมีคุณธรรม ควบคู่ความรอบรู้ รู้เท่าทันโลก ครอบครัวอบอุ่น ชุมชนและสังคมเข้มแข็ง เศรษฐกิจมีคุณภาพมีเสถียรภาพ และมีความเป็นธรรม สิ่งแวดล้อมมีคุณภาพและทรัพยากรธรรมชาติยั่งยืน อยู่ภายใต้ระบบบริหารจัดการประเทศที่มีธรรมาภิบาล ดำรงไว้ซึ่งระบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และอยู่ในประชาคมโลกได้อย่างมีศักดิ์ศรี
        3. มุ่งพัฒนาประเทศไทยสู่สังคมอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน คนไทยมีคุณธรรม นำความรอบรู้ รู้เท่าทันโลก ครอบครัวอบอุ่น ชุมชนเข้มแข็ง สังคมสันติสุข เศรษฐกิจมีคุณภาพมีเสถียรภาพ และมีความเป็นธรรม สิ่งแวดล้อมมีคุณภาพและทรัพยากรธรรมชาติยั่งยืน อยู่ภายใต้ระบบบริหารจัดการประเทศที่มีธรรมาภิบาล ดำรงไว้ซึ่งระบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และอยู่ในประชาคมโลกได้อย่างมีศักดิ์ศรี

        4. มุ่งพัฒนาประเทศไทยสู่สังคมอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน คนไทยมีคุณธรรม นำความรอบรู้ รู้เท่าทันโลก ครอบครัวอบอุ่น ชุมชนเข้มแข็ง สังคมสันติสุข เศรษฐกิจมีคุณภาพมีเสถียรภาพ สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติยั่งยืน อยู่ภายใต้ระบบบริหารจัดการประเทศที่มีธรรมาภิบาล ดำรงไว้ซึ่งระบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และอยู่ในประชาคมโลกได้อย่างมีศักดิ์ศรี

15. วิสัยทัศน์นโยบายรัฐบาลของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อยู่ภายใต้แนวพื้นฐานหลัก 4 ประการ คือ
        1. ฟื้นฟูเศรษฐกิจ พัฒนาประชาธิปไตย  พิทักษ์เทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ สร้างความปรองดองสมานฉันท์
        2. พิทักษ์เทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ สร้างความปรองดองสมานฉันท์ ฟื้นฟูเศรษฐกิจ พัฒนาระบบการเมืองและประชาธิปไตย
        3. ฟื้นฟูเศรษฐกิจ พัฒนาประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี ปฏิรูปการเมือง เทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์
        4. ปกป้องและเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ สร้างความปรองดองสมานฉันท์ ฟื้นฟูเศรษฐกิจ พัฒนาประชาธิปไตย
16.  รัฐบาลในสมัยนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ มุ่งมั่นนำประเทศไทยในช่วงปี 2552 ถึง 2554 ให้ไปในทิศทางใด
        1. รอดพ้นวิกฤตเศรษฐกิจโลก มุ่งพัฒนาประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี
        2. แก้ไขวิกฤตทางสังคมที่มีความแตกแยก ให้ไปสู่การเจริญเติบโตอย่างยั่งยืน
        3. ยุติวิกฤตทางการเมือง และปฏิรูปการเมืองให้มีความมั่นคงตามแนวทางระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
        4. ถูกทุกข้อ
17.  นโยบายรัฐบาลของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ มีทั้งหมด 8 ด้าน โดยด้านที่ 2 8 จะดำเนินการในช่วง 3 ปี ส่วนนโยบายด้านแรกจะดำเนินการภายใน.....
        1. 1 ปี                            2. 6 เดือน                             3. 3 เดือน                             4. 30 วัน

ใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคำถามข้อ 18. – 32.
1.      การสร้างความเชื่อมั่นและกระตุ้นเศรษฐกิจในภาพรวม เพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นในการลงทุนและบริโภค
2.      ลดภาระค่าครองชีพของประชาชน
3.      รักษาและเพิ่มรายได้ของประชาชน
4.      นโยบายความมั่นคงของรัฐ
18. นายสุเทพ เทือกสุบรรณ จัดให้มีสำนักบริหารราชการ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้
19.       จัดให้มีการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนครั้งที่ 14 ในฐานะประเทศไทยเป็นประธานอาเซียน
20.  ฟื้นฟูเศรษฐกิจโดยใช้แผนฟื้นฟูระยะสั้น
21. ประกาศวันหยุดฟันหรอ มุ่งให้คนไทยเที่ยวเมืองไทย
22. พัฒนาโครงการ ยกระดับคุณภาพการศึกษาทั้งระบบ พร้อมทั้งระบบบริการสุขภาพ
23.  เร่งลงทุนพัฒนาระบบขนส่งมวลชน และระบบบริหารจัดการน้ำและการชลประทาน
24.  สร้างหลักประกันรายได้ผู้สูงอายุ
25.  ดำเนินมาตรการเร่งด่วนเฉพาะหน้า
26. จัดตั้งสภาเกษตรกรแห่งชาติ
27.  เพิ่มบทบาท อสม. ทั่วประเทศ
28.  สนับสนุนตำราหลักให้แก่ทุกโรงเรียนและจัดให้มีชุดนักเรียนและอุปกรณ์การเรียนฟรี
29. ดำเนิน 5 มาตรการ 6 เดือน
30.  ปกป้องและเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ให้มีความมั่นคงในการเป็นศูนย์รวมจิตใจและความรักสามัคคีของคนในชาติ
31.  แก้ไขปัญหาผู้หลบหนีเข้าเมืองทั้งระบบ ไม่ให้มีผลกระทบต่อความมั่นคง
32.  บังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องอย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือกับนานาประเทศ

ใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคำถาม 33. 36
        1. นโยบายสังคมและคุณภาพชีวิต                                         
        2. นโยบายเศรษฐกิจ
33.  นโยบายปรับโครงสร้างเศรษฐกิจภาคเกษตร  ภาคอุตสาหกรรม  ภาคการท่องเที่ยวและบริการและภาคการตลาดการค้าและการลงทุน
34.  นโยบายแรงงาน นโยบายด้านสาธารณสุข  นโยบายการศึกษา   นโยบายศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม  
35. นโยบายสวัสดิการสังคม และความมั่นคงของมนุษย์ นโยบายการกีฬาและนันทนาการ
36.  นโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
37. ปรัชญาของการจัดตั้งสำนักงานบริหารราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้ ยึดหลักในข้อใด
        1. ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง                     2. หลักธรรมาภิบาล
        3. หลักสมานฉันท์                                      4. แนวทางเข้าใจ เข้าถึง พัฒนา
38.  การกำหนดจังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นเขตพัฒนาพิเศษ ตามแนวทางของ ครม. นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ  ในเขตพัฒนาพิเศษ จะได้รับการสนับสนุนในเรื่องใด
        1. แหล่งเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำและสิทธิพิเศษด้านภาษีทุกประเภท
        2. อุตสาหกรรมฮาลาล และแหล่งเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ
        3. อุตสาหกรรมฮาลาล และแหล่งเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ และการส่งเสริมการประกอบพิธีฮัจย์
        4. อุตสาหกรรมฮาลาล และแหล่งเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ และสิทธิพิเศษด้านภาษี
39.  มาตรการ เร่งด่วนเฉพาะหน้า เพื่อรองรับปัญหาแรงงานว่างงานจากภาคอุตสาหกรรม และนักศึกษาจบใหม่ ซึ่ง ครม. นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้จัดโครงการฝึกอบรมแรงงานที่ว่างงานตามกลุ่มความถนัดและศักยภาพ เพื่อรองรับแรงงานกลับสู่ภูมิลำเนาในอัตราส่วน
        1. 500,000 คน ใน 2 ปี                              2. 250,000 คน ใน 1 ปี                     
        3. เดือนละ 20,000 คน                              4. 500,000 คนใน 1 ปี
40.  การ สร้างหลักประกันรายได้แก่ผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปี ขึ้นไป และไม่มีรายได้เพียงพอแก่การยังชีพ ได้กำหนดการขยายเพดานเงินกู้ยืมจากกองทุนผู้สูงอายุ เป็น ...........................ต่อราย
        1. 20,000                      2. 25,000                              3. 30,000                              4. 35,000

ถ้าถูกให้ระบายข้อ 1  และถ้าผิดให้ระบายข้อ 2
        มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจหรือที่รู้จักกันในนาม 25 มาตรการมาร์ค 1
41.  โครงการเรียนฟรีจริง เริ่มตั้งแต่อนุบาล ถึง ม. 6
42.  โครงการช่วยเหลือค่าครองชีพ โดยจัดสรรเงินให้ผู้ประกันตนหรือที่เรียกว่า เช็คช่วยชาติ     ต้องมีรายได้ประจำต่ำกว่า 15,000 บาทต่อเดือน
43.  โครงการ 6 เดือน 5 มาตรการ ได้ปรับลดการใช้น้ำประปาฟรีเหลือเพียง 35 ลบ.เมตร
44. โครงการ 6 เดือน 5 มาตรการ ได้ปรับลดการใช้ไฟฟ้าฟรี ไม่เกินเดือนละ 99 หน่วย
45.  มาตรการด้านอสังหาริมทรัพย์ ยกเว้นภาษีสำหรับผู้ซื้อบ้านใหม่ และโอนกรรมสิทธิ์ภายในปี 2552 นำเงินต้นลดหย่อนภาษีได้ 400,000 บาท
47.  โครงการถนนปลอดฝุ่น ลาดยางในชนบท ระยะทาง 490 กิโลเมตร
48.  โครงการ ลดผลกระทบธุรกิจท่องเที่ยว โดยจัดกิจกรรมท่องเที่ยวในประเทศไทย สนับสนุนให้ส่วนราชการจัดสัมมนาต่างจังหวัด (งดต่างประเทศให้หมด) งบ 1,000 ล้านบาท
49.  ปรับฐานภาษีผู้ประกอบการ SME โดยขยายวงเงินได้พึงประเมินขั้นต่ำที่ต้องเสียภาษี 0.5 เป็น 1 ล้านบาท
50.  เวนเจอร์แคปปิตอล ฟันด์ คือ
        1. กองทุนวิสาหกิจชุมชุน                                         2. กองทุนร่วมลงทุน
        3. กองทุนบุกเบิกเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจ                    4. กองทุนพัฒนาการเมืองภาคพลเมือง 


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น