แนวข้อสอบกรมราชทัณฑ์

แจกฟรีแนวข้อสอบกรมราชทัณฑ์
ตัวอย่างแนวข้อสอบกรมมทัณฑ์
1.       ผู้ใดมีอำนาจสั่งบรรจุและแต่งตั้งให้ข้าราชการดำรงตำแหน่งระดับ 8 ในกรมราชทัณฑ์  แอ๊คกรุ๊ป
ก.      นายกรัฐมนตรี         ข.  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
ค.      อธิบดีกรมราชทัณฑ์         ง.  ปลัดกระทรวง
คำตอบ  ค.  การบรรจุและแต่งตั้งให้ข้าราชการดำรงตำแหน่งระดับ 8 ให้อธิบดีผู้บังคับบัญชาเป็นผู้มีอำนาจบรรจุและแต่งตั้ง เมื่อได้รับความเห็นชอบจากปลัดกระทรวง

2.       ตำแหน่งที่มีคุณลักษณะบริหารตามที่ ก.พ.กำหนด จะต้องมีการสับเปลี่ยน ย้าย  โอน  เพราะห้ามปฏิบัติ
หน้าที่เดียว ติดต่อกันเป็นเวลากี่ปี
ก.      3  ปี               ข.  4  ปี
ค.      5  ปี               ง.  6  ปี
คำตอบ  ข.  ภายใต้บังคับมาตรา 57  วรรคหนึ่ง  และมาตรา 60  ให้มีการสับเปลี่ยนหน้าที่  ย้าย  หรือโอนข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ดำรงตำแหน่งระดับ ระดับ 10  และระดับ 11  ซึ่งเป็นตำแหน่งที่มีลักษณะบริหารตามที่ ก.พ.กำหนด  โดยมิควรให้อยู่ปฏิบัติหน้าที่เดียวติดต่อกันเป็นเวลานานเกินกว่า   4 ปี  อ.พิพัฒน์-อ.วันนรัตน์

3.       การโอนข้อใดถูกต้อง
ก.      จะทำได้เมื่อผู้มีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา 57 ทั้งสองฝ่ายตกลงยินยอม
ข.      แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในระดับที่สูงกว่าเดิม
ค.      รับเงินเดือนในขั้นที่สูงกว่าเดิม
ง.       ถูกทุกข้อ
คำตอบ  ง.  การโอนข้าราชการพลเรือนสามัญไปแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญต่างกระทรวง  ทบวง  กรม  อาจทำได้เมื่อมีผู้มีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา 57 ทั้งสองฝ่ายตกลงยินยอม  โดยให้แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในระดับที่ไม่สูงกว่าเดิม และรับเงินเดือนในขั้นที่ไม่สูงกว่าเดิม

4.       ข้อใดไม่ใช่ข้อพิจารณาในการเลื่อนขั้นเงินเดือนข้าราชการพลเรือน
ก.      คุณภาพและปริมาณงาน
ข.      ระยะเวลาการรับราชการ
ค.      ความสามารถและความอุตสาหะในการทำงาน
ง.       การปฏิบัติตนที่เหมาะสมกับการเป็นข้าราชการ
คำตอบ  ข.  การเลื่อนขั้นเงินเดือนข้าราชการพลเรือนสามัญ ให้ผู้บังคับบัญชาพิจารณาโดยคำนึงถึงคุณภาพและปริมาณงาน  ประสิทธิภาพและประสิทธิผลของงาน  ความสามารถและความอุตสาหะในการปฏิบัติงาน  ตลอดจนการรักษาวินัย  การปฏิบัติตนเหมาะสมกับการเป็นข้าราชการ

5.       การกระทำผิดวินัยในข้อใด  ถือว่าเป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง
ก.      เปิดเผยความลับของทางราชการ
ข.      รายงานเท็จต่อผู้บังคับบัญชา
ค.      ดูหมิ่น เหยียดหยาม กดขี่  ข่มเหง  ประชาชนผู้มาติดต่อราชการอย่างร้ายแรง
ง.       ถูกทุกข้อ
คำตอบ  ง.  กระทำผิดวินัย  ที่ถือเป็นความผิดวินัยร้ายแรงได้แก่
1)       การปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยมิชอบ (มาตรา 82)
2)       การประมาทเลินเล่อในหน้าที่ราชการ (มาตรา 84)
3)       การปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยจงใจไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ (มาตรา 85)
4)       การเปิดเผยความลับของทางราชการ (มาตรา 87)
5)       การขัดคำสั่ง หรือหลีกเลี่ยงไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชา (มาตรา 88)
6)       การรายงานเท็จต่อผู้บังคับบัญชา (มาตรา 90)
7)       การละทิ้งหรือทอดทิ้งราชการโดยไม่มีเหตุอันสมควร (มาตรา 92)
8)               การดูหมิ่น  เหยียดหยาม  กดขี่  ข่มเหง  ประชาชนผู้มาติดต่อราชการอย่างร้ายแรง (มาตรา 94)
9)       การกระทำผิดอาญาจนได้รับโทษจำคุก (มาตรา 98)

6.       ข้อใดไม่ใช่โทษสำหรับข้าราชการที่กระทำผิดวินัยไม่ร้ายแรง
ก.      ภาคทัณฑ์            ข.  ตัดเงินเดือน
ค.      ลดขั้นเงินเดือน         ง.  ปลดออก
คำตอบ  ง.  ข้าราชการผู้ใดกระทำผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรงให้ผู้บังคับบัญชาสั่งลงโทษภาคทัณฑ์  ตัดเงินเดือน  ลดขั้นเงินเดือน

7.       การยับยั้งการอนุญาตให้ลาออก  สามารถยับยั้งได้ไม่เกินกี่วัน
ก.      30  วัน            ข.  45  วัน
ค.      60  วัน            ง.  90  วัน
คำตอบ  ง.  กรณีที่ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา 52  เห็นว่าจำเป็นเพื่อประโยชน์แก่ทางราชการจะยับยั้งการอนุญาตให้ลาออกไว้เป็นเวลาไม่เกิน 90 วัน  นับตั้งแต่วันที่ขอลาออกก็ได้

8.       ผู้ว่าราชการจังหวัดสั่งลงโทษตัดเงินเดือน นาย ก.  นาย ก. สามารถอุทธรณ์คำสั่งของผู้ว่าราชการจังหวัดต่อ
หน่วยงานใด
ก.      อ.ก.พ. กรม            ข.  อ.ก.พ. จังหวัด
ค.      อ.ก.พ. กระทรวง         ง.  ก.พ.
คำตอบ  ค.  การอุทธรณ์คำสั่งของผู้ว่าราชการจังหวัดหรืออธิบดีให้อุทธรณ์ต่อ อ.ก.พ.กระทรวง

9.       การอุทธรณ์คำสั่งลงโทษปลดออกหรือไล่ออก  ข้อใดถูกต้อง
ก.      อุทธรณ์ต่อ ก.พ. ภายใน 30 วัน
ข.      อุทธรณ์ต่อ อ.ก.พ. กระทรวง ภายใน 30 วัน
ค.      อุทธรณ์ต่อ ก.พ. ภายใน 15 วัน
ง.       อุทธรณ์ต่อ อ.ก.พ. กระทรวง ภายใน 15 วัน
คำตอบ  ก.  การอุทธรณ์คำสั่งลงโทษปลดออก  หรือไล่ออก ให้อุทธรณ์ต่อ ก.พ. ภายใน 30 วัน นับแต่วันทราบคำสั่ง

10.       ข้อใดไม่ใช่ประเภทของข้าราชการพลเรือน
ก.      ข้าราชการพลเรือนสามัญ
ข.      ข้าราชการพลเรือนในพระองค์
ค.      ข้าราชการประจำต่างประเทศพิเศษ
ง.       ไม่มีข้อใดถูก
คำตอบ  ง.  ประเภทของข้าราชการพลเรือนมี 3 ประเภท ได้แก่
1)       ข้าราชการพลเรือนสามัญ
2)       ข้าราชการพลเรือนในพระองค์
3)       ข้าราชการประจำต่างประเทศพิเศษ

11.       การพัฒนาผู้ได้รับการบรรจุเข้ารับราชการก่อนมอบหมายหน้าที่ให้ปฏิบัติมีวัตถุประสงค์อย่างไร
ก.      ให้รู้ระเบียบแบบแผนของทางราชการ
ข.      ให้รู้หลักและวิธีปฏิบัติราชการ
ค.      ให้รู้แนวทางปฏิบัติตนเพื่อเป็นข้าราชการที่ดี
ง.       ถูกทุกข้อ
คำตอบ  ง.  วัตถุประสงค์ของการพัฒนาผู้ได้รับการบรรจุเข้ารับราชการ เพื่อ
1)       ให้รู้ระเบียบแบบแผนของทางราชการ
2)       ให้รู้หลักและวิธีปฏิบัติราชการ
3)       ให้รู้บทบาทหน้าที่ของราชการในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
4)       ให้รู้แนวทางปฏิบัติตนเพื่อเป็นข้าราชการที่ดี

12.       ข้อใดไม่สามารถจะร้องทุกข์ได้
ก.      มีคำสั่งปลดออกจากราชการ
ข.      ถูกสั่งให้ออกจากราชการ
ค.      เห็นว่าผู้บังคับบัญชาให้อำนาจต่อตนไม่ถูกต้องตามกฎหมาย
ง.       เกิดความคับข้องใจอันเกิดจากการปฏิบัติของผู้บังคับบัญชาต่อตน
คำตอบ  ก.  ปลดออกเป็นโทษทางวินัยอย่างร้ายแรง  ฉะนั้น  จะต้องใช้วิธีการอุทธรณ์  ไม่ใช่การร้องทุกข์  ส่วนการร้องทุกข์จะใช้ได้ในกรณีดังนี้
1)       ถูกสั่งให้ออกจากราชการ
2)       เห็นว่าผู้บังคับบัญชาใช้อำนาจต่อตนไม่ถูกต้องตามกฎหมาย
3)       เกิดความคับข้องใจอันเกิดจากการปฏิบัติของผู้บังคับบัญชาต่อตน

13.       การละทิ้งหน้าที่ราชการติดต่อในคราวเดียวกันกี่วัน  จึงจะถือว่าผิดวินัยร้ายแรง
ก.      เกินกว่า  5  วัน         ข.  เกินกว่า  7  วัน
ค.      เกินกว่า  15  วัน         ง.  เกินกว่า  20  วัน
คำตอบ  ค.  การละทิ้งหน้าที่ราชการติดต่อในคราวเดียวกันเป็นเวลาเกินกว่า  15  วัน  โดยไม่มีเหตุผลอันสมควร  เป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง

14.       คุณสมบัติของข้าราชการข้อใดผิด
ก.      มีสัญชาติไทย
ข.      มีอายุไม่ต่ำกว่า  20  ปี
ค.      เป็นผู้เลื่อมใสในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
ง.       ไม่เป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
คำตอบ  ข.  คุณสมบัติของข้าราชการจะต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า  18  ปี

15.       ข้อใดเป็นเป้าหมายของการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
ก.      เกิดประโยชน์สุขของประชาชน
ข.      เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ
ค.      มีประสิทธิภาพและเกินความคุ้มค่าในเชิงภารกิจของรัฐ
ง.       ถูกทุกข้อ
คำตอบ  ง.  การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ได้แก่ การบริหารราชการเพื่อบรรลุเป้าหมาย ดังต่อไปนี้
1)       เกิดประโยชน์สุขของประชาชน
2)       เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ
3)       มีประสิทธิภาพและเกินความคุ้มค่าในเชิงภารกิจของรัฐ
4)       ไม่มีขั้นตอนการปฏิบัติงานเกินความจำเป็น
5)       มีการปรับปรุงภารกิจของส่วนราชการให้ทันต่อสถานการณ์
6)       ประชาชนได้รับการอำนวยความสะดวกและได้รับการตอบสนองความต้องการ
7)       มีการประเมินผลการปฏิบัติราชการอย่างสม่ำเสมอ

16.       ?บุคคลซึ่งถูกขังไว้ตามคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายให้ลงโทษหมายถึงข้อใด
ก.      นักโทษเด็ดขาด         ข.  คนต้องขัง
ค.      คนฝาก            ง.  ไม่มีข้อถูก
คำตอบ  ก.  นักโทษเด็ดขาด  หมายความว่า  บุคคลซึ่งถูกขังไว้ตามคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายให้ลงโทษ

17.       พ.ร.บ. ราชทัณฑ์ พ.ศ.2479  มิให้ใช้บังคับในสถานที่ตามข้อใด
ก.      ทัณฑสถาน            ข.  เรือนจำพิเศษ
ค.      เรือนจำทหาร            ง.  เรือนจำชั่วคราว
คำตอบ  ค.  ตามมาตรา 5 พระราชบัญญัตินี้มิให้ใช้บังคับถึงเรือนจำทหาร

18.       ใครเป็นผู้มีอำนาจกำหนดประเภทหรือชั้นของเรือนจำ
ก.      รัฐมนตรี            ข.  ปลัดกระทรวง
ค.      อธิบดี            ง.  ผู้บัญชาการเรือนจำ
คำตอบ  ก.  รัฐมนตรีมีอำนาจกำหนดประเภทหรือชั้นของเรือนจำ  หรือสั่งให้จัดอาณาเขตภายในเรือนจำเป็นส่วน ๆ

19.       ข้อใดมิใช่เอกสารสำคัญที่จะทำให้เจ้าพนักงานเรือนจำขังบุคคลเอาไว้ได้
ก.      หมายจับ            ข.  หมายขัง
ค.      หมายจำคุก            ง.  หนังสือของผู้อำนวยการสถานพินิจ
คำตอบ  ก.  เอกสารของเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจให้คุมขังผู้นั้นไว้  ได้แก่  หมายขัง  หมายจำคุก  หนังสือของผู้อำนวยการสถานพินิจ

20.       ข้อใดไม่ใช่อำนาจของรัฐมนตรี
ก.      กำหนดประเภทหรือชั้นของเรือนจำ
ข.      สั่งย้ายผู้ต้องขังจากเรือนจำหนึ่งไปยังเรือนจำหนึ่ง
ค.      แยกประเภทหรือชั้นของผู้ต้องขัง
ง.       วางเงื่อนไขในการย้ายประเภทหรือชั้นหนึ่งไปยังอีกประเภทหรือชั้นหนึ่ง
คำตอบ  ข.  การสั่งย้ายผู้ต้องขังจากเรือนจำหนึ่งไปยังอีกเรือนจำหนึ่ง ให้เป็นไปตามคำสั่งของอธิบดีตามมาตรา 12

21.   เจ้าพนักงานเรือนจำจะใช้อาวุธอื่น นอกจากอาวุธปืนแก่ผู้ต้องขังได้ในกรณีใดบ้าง
ก.      เมื่อผู้ต้องขังกำลังจะหลบหนีและไม่มีทางป้องกันอื่นนอกจากใช้อาวุธ
ข.      เมื่อผู้ต้องขังหลายคนก่อความวุ่นวาย
ค.      เมื่อผู้ต้องขังจะใช้กำลังกายทำร้ายเจ้าพนักงานหรือผู้อื่น
ง.       ถูกทุกข้อ
คำตอบ  ง.  เจ้าพนักงานเรือนจำอาจใช้อาวุธนอกจากอาวุธปืนแก่ผู้ต้องขังได้ในกรณีดังต่อไปนี้
1)       เมื่อปรากฏว่าผู้ต้องขังกำลังหลบหนีและไม่มีทางป้องกันอื่นนอกจากใช้อาวุธ
2)       เมื่อผู้ต้องขังหลายคนก่อความวุ่นวาย หรือพยายามใช้กำลังเปิดหรือทำลายประตูรั้ว
3)       เมื่อผู้ต้องขังจะใช้กำลังกายทำร้ายเจ้าพนักงานหรือผู้อื่น

22.   นักโทษเด็ดขาดที่จะออกไปทำงานสาธารณะนอกเรือนจำได้ต้องเหลือโทษจำคุกกี่ปี
ก.      เหลือไม่เกิน 1 ปี         ข.  เหลือไม่เกิน 2 ปี
ค.      เหลือไม่เกิน 3 ปี         ง.  เหลือไม่เกิน 4 ปี
คำตอบ  ข.  ในกรณีเจ้าพนักงานเรือนจำสั่งให้นักโทษเด็ดขาดออกไปทำงานสาธารณะนอกเรือนจำให้อธิบดีแต่งตั้งคณะกรรมการคณะหนึ่งไม่น้อยกว่า 3 คน เป็นผู้พิจารณาคัดเลือกนักโทษเด็ดขาด  ซึ่งเหลือโทษจำคุกไม่เกินสองปี เพื่อทำงานสาธารณะตามมาตรานี้

23.       คณะกรรมการพิจารณาคัดเลือกนักโทษเด็ดขาดออกไปทำงานสาธารณะนอกเรือนจำ มีกี่คน
ก.      ไม่น้อยกว่า 3 คน         ข.  ไม่น้อยกว่า 4 คน
ค.      ไม่น้อยกว่า 5 คน         ง.  ไม่น้อยกว่า 6 คน
คำตอบ  ก.  ในกรณีเจ้าพนักงานเรือนจำสั่งให้นักโทษเด็ดขาดออกไปทำงานสาธารณะนอกเรือนจำให้อธิบดีแต่งตั้งคณะกรรมการคณะหนึ่งไม่น้อยกว่า 3 คน เป็นผู้พิจารณาคัดเลือกนักโทษเด็ดขาด  ซึ่งเหลือโทษจำคุกไม่เกินสองปี เพื่อทำงานสาธารณะตามมาตรานี้


24.       บุคคลใดไม่มีอำนาจสั่งใช้เครื่องพันธนาการและเพิกถอนคำสั่งใช้เครื่องพันธนาการ
ก.      พัศดี            ข.  ผู้คุม
ค.      ปลัดกระทรวง         ง.  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
คำตอบ  ก.  โดยปกติพัศดีเท่านั้นที่มีอำนาจ  ผู้อื่นจะออกคำสั่งไม่ได้  ยกเว้นกรณีมาตรา 14 (4)          เจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่ควบคุมมีอำนาจสั่ง และมาตรา 14 (5) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมมีอำนาจสั่งได้

25.       เครื่องพันธนาการ  ห้ามใช้กับบุคคลในข้อใด
ก.      ผู้ต้องขังอายุไม่เกิน 60 ปี      ข.  ผู้ต้องขังหญิง
ค.      ผู้ต้องขังวิกลจริต         ง.  ข้อ ก. และ ข. ถูก
คำตอบ  ง.  เครื่องพันธนาการที่กำหนดในกฎกระทรวงห้ามใช้แก่
1)       ผู้ต้องขังอายุไม่เกิน 60 ปี
2)       ผู้ต้องขังหญิง

26.       ข้อใดไม่ใช่หน้าที่ของผู้ต้องขัง  เมื่อถูกปล่อยตัวเพราะมีเหตุฉุกเฉินเกิดขึ้น
ก.      กลับมายังเรือนจำ ภายใน 24 ชั่วโมง
ข.      ไปรายงานตัวต่อศาล ภายใน 24 ชั่วโมง
ค.      ไปรายงานตัวยังสถานีตำรวจ ภายใน 24 ชั่วโมง
ง.       ไปรายงานตัวยังที่ว่าการอำเภอ ภายใน 24 ชั่วโมง
คำตอบ  ข.  เมื่อปล่อยตัวผู้ต้องขังไปเพราะเหตุฉุกเฉินแล้ว เป็นหน้าที่ของผู้ต้องขังจะต้องกลับมายังเรือนจำ หรือไปรายงานตัวยังสถานีตำรวจ หรือที่ว่าการอำเภอ ภายใน 24 ชั่วโมง นับแต่ปล่อยตัวไป

27.       ในกรณีเรือนจำไม่มีเจ้าพนักงานหญิงตรวจค้นผู้ต้องขังหญิง จะต้องดำเนินการอย่างไร
ก.      ให้ผู้ต้องขังหญิงคนอื่นเป็นผู้ตรวจค้น
ข.      ให้เจ้าพนักงานชายเป็นผู้ตรวจค้นแทน
ค.      เชิญหญิงอื่นที่เป็นบุคคลที่น่าเชื่อถือมาช่วยทำการตรวจให้
ง.       ไม่ต้องตรวจค้นผู้ต้องขังหญิงคนนั้น
คำตอบ  ค.  กรณีเรือนจำไม่มีเจ้าพนักงานหญิงตรวจค้นผู้ต้องขังหญิง  และมีความสงสัยในพฤติการณ์ของผู้ต้องขังหญิงนั้น  เจ้าพนักงานมีอำนาจเชิญหญิงอื่นเป็นใครก็ได้  แต่ต้องเป็นบุคคลที่น่าเชื่อถือให้มาช่วยทำการตรวจให้

28.       เหตุที่ต้องแยกตัวผู้ต้องขังที่รับไว้ใหม่จากผู้ต้องขังอื่น เพื่อส่งให้แพทย์ตรวจสุขภาพเพราะเหตุใด
ก.      เพื่อทำการรักษาในกรณีเจ็บป่วย   
ข.      เพื่อฝึกวิชาชีพตามความเหมาะสมของสุขภาพ
ค.      เพื่อป้องกันโรคติดต่อมิให้แพร่กระจายออกไป
ง.       ถูกทุกข้อ
คำตอบ  ง.  เจ้าพนักงานเรือนจำต้องจัดแยกผู้ต้องขับที่รับไว้ใหม่จากผู้ต้องขังอื่น เพื่อส่งตัวให้แพทย์ตรวจสุขภาพต่อไป ทั้งนี้ เพื่อประโยชน์ในการจัดแยกประเภทผู้ต้องขัง เพื่อทำการรักษาในกรณีที่ป่วยและฝึกวิชาชีพตามความเหมาะสมของสุขภาพ ตลอดจนป้องกันโรคติดต่อมิให้แพร่กระจายไปในเรือนจำ กรณีผู้ต้องขังป่วยเป็นโรคติดต่อ

29.       เด็กตามข้อใดที่ไม่อนุญาตให้อยู่ภายในเรือนจำ
ก.      เด็กที่ติดมากับผู้ต้องขัง  ซึ่งเด็กอายุต่ำกว่า 16 ปี
ข.      เด็กที่ติดมากับผู้ต้องขัง  ซึ่งเด็กอายุ 16 ปีบริบูรณ์
ค.      เด็กที่เกิดในเรือนจำ
ง.       เด็กที่คลอดในโรงพยาบาลภายนอกเรือนจำในขณะที่มารดาเป็นผู้ต้องขัง
คำตอบ  ข.  เด็กที่จะอนุญาตให้อยู่ภายในเรือนจำได้ คือ
1)       เด็กที่ติดมากับผู้ต้องขังและเด็กอายุต่ำกว่า 16 ปี      2)  เด็กที่เกิดในเรือนจำ

30.       กฎหมายกำหนดให้แพทย์ต้องเข้าตรวจเรือนจำในส่วนที่เกี่ยวกับอนามัยและสุขาภิบาลทุก ๆ กี่วัน
ก.      3  วัน            ข.  7  วัน
ค.      10  วัน            ง.  15  วัน
คำตอบ  ก.  กฎหมายกำหนดให้แพทย์ต้องเข้าตรวจเรือนจำในส่วนที่เกี่ยวข้องกับอนามัยและสุขาภิบาลของเรือนจำ ทุก ๆ 3 วัน  โดยให้คำแนะนำและบันทึกลงในสมุดตรวจการสุขาภิบาลของเรือนจำแล้วพัศดีมีหน้าที่จัดดำเนินการตามคำแนะนำ

31.       เรือนจำพิเศษซึ่งแยกผู้ต้องขังป่วยประเภทติดยาเสพติดโดยเฉพาะ เรียกว่าอะไร
ก.      ทัณฑสถานบำบัดพิเศษ      ข.  ทัณฑนิคม
ค.      ทัณฑสถานหญิง         ง.  ทัณฑสถานวัยหนุ่ม
คำตอบ  ก.  ผู้ต้องขังที่ป่วยประเภทติดยาเสพติดในปัจจุบันได้จัดแยดไว้ในเรือนจำพิเศษโดยเฉพาะเรียกว่า ทัณฑสถานบำบัดพิเศษ

32.       ระยะเวลาที่จะได้รับการพักการลงโทษ ข้อใดถูก
ก.      ชั้นเยี่ยม ได้พักการลงโทษไม่เกิน 1 ใน 3 ของกำหนดโทษ
ข.      ชั้นดีมาก ได้พักการลงโทษไม่เกิน 1 ใน 4 ของกำหนดโทษ

ค.      ชั้นดี ได้พักการลงโทษไม่เกิน 1 ใน 5 ของกำหนดโทษ
ง.       ถูกทุกข้อ
คำตอบ  ง.  ระยะเวลาที่จะได้รับการพักการลงโทษมีดังนี้
1)       ชั้นเยี่ยม ได้พักการลงโทษไม่เกิน 1 ใน 3 ของกำหนดโทษ
2)       ชั้นดีมาก ได้พักการลงโทษไม่เกิน 1 ใน 4 ของกำหนดโทษ
3)       ชั้นดี ได้พักการลงโทษไม่เกิน 1 ใน 5 ของกำหนดโทษ

33.       ข้อใดมิใช่ประโยชน์ที่ได้รับจากการพักการลงโทษ
ก.      เป็นการจูงใจให้นักโทษเด็ดขาดประพฤติตัวดี
ข.      เป็นการบำรุงขวัญและกำลังใจ
ค.      เป็นการลดจำนวนประชากรในเรือนจำ
ง.       เป็นการลดภาระให้แก่เรือนจำ
คำตอบ  ง.  ประโยชน์ที่ได้รับจากการพักการลงโทษ มีดังนี้
1)       เป็นการจูงใจให้นักโทษเด็ดขาดประพฤติตัวดี
2)       เป็นการบำรุงขวัญและกำลังใจ
3)       เป็นการลดจำนวนประชากรในเรือนจำ
4)       เป็นความก้าวหน้าทางราชทัณฑ์อย่างหนึ่ง
5)       เป็นการฝึกให้นักโทษเข้าอยู่ในสังคมอย่างมีกฎเกณฑ์
34.       การลดวันต้องโทษจำคุก กฎหมายกำหนดให้ลดได้เดือนละไม่เกินกี่วัน
ก.      3  วัน            ข.  5  วัน
ค.      7  วัน            ง.  15  วัน
คำตอบ  ข.  ตามมาตรา 32 (6) ลดวันต้องโทษจำคุกให้เดือนละไม่เกิน 5 วัน
35.       ข้อใดไม่ใช่โทษที่ผู้ต้องขังกระทำผิดวินัยจะได้รับ
ก.      ภาคทัณฑ์
ข.      ลดชั้น
ค.      ตัดการอนุญาตให้ได้รับการเยี่ยมติดต่อกันไม่เกิน 3 เดือน
ง.       ตัดการติดต่อพูดจากับทนายความของตน
คำตอบ  ง.  ตัดการอนุญาตให้ได้รับการเยี่ยมเยียนหรือติดต่อกันไม่เกิน 3 เดือน เว้นแต่กรณีตามมาตรา 8 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
36.       โทษตามข้อใดผิด
ก.      ขังเดี่ยวไม่เกิน 2 สัปดาห์
ข.      ขังห้องมืดไม่มีเครื่องหลับนอน ไม่เกินสองวันต่อหนึ่งสัปดาห์
ค.      เฆี่ยนคราวหนึ่งไม่เกิน 20 ที
ง.       ตัดจำนวนเงินที่ได้รับการลดวันต้องโทษจำคุก
คำตอบ  ก.  ตามมาตรา 35 (6) ขังเดี่ยวไม่เกิน 3 เดือน
37.       พนักงานเจ้าหน้าที่อาจเพิกถอนการลงโทษได้ต่อเมื่อได้รับอนุญาตจากผู้ใด
ก.      รัฐมนตรี            ข.  อธิบดี
ค.      ผู้บัญชาการเรือนจำ         ง.  ถูกทุกข้อ
คำตอบ  ค.  พนักงานเจ้าหน้าที่อาจเพิกถอนการลงโทษอย่างใด ๆ เสียได้ เมื่อมีเหตุอันสมควร แต่ต้องได้รับอนุญาตจากผู้บัญชาการเรือนจำ
38.       ข้อใดมิใช่สิ่งของต้องห้ามffice ffice" />
ก.      ของเน่าเสีย            ข.  สัตว์มีชีวิต
ค.      เงินสด            ง.  ศาตราวุธ
คำตอบ  ค.  เงินสด กฎหมายมิได้ระบุเป็นสิ่งของต้องห้าม แต่ก็ไม่อนุญาตให้นำเข้าหรือเก็บรักษาไว้ในเรือนจำ
39.       ข้อใดเป็นสิ่งขอที่อนุญาตให้ผู้ต้องขังนำเข้ามาในเรือนจำได้
ก.      ของใช้ส่วนตัวเพื่อรักษาสุขภาพอนามัย   ข.  ยารักษาโรค
ค.      อาหารสำเร็จรูป         ง.  ข้อ ก. และ ค. ถูก
คำตอบ  ง.  สิ่งของที่อนุญาตให้นำเข้ามาในเรือนจำได้ คือ
1)       ของใช้ส่วนตัวเพื่อรักษาสุขภาพอนามัย
2)       อาหารที่ปรุงเสร็จแล้ว หรืออาหารสำเร็จรูปอันเป็นของส่วนตัว
40.       กรณีใดที่จะต้องคืนทรัพย์สินที่ผู้ต้องขังฝากเรือนจำไว้ให้แก่ทายาทของผู้นั้น
ก.      กรณีผู้ต้องขังตาย
ข.      กรณีผู้ต้องขังหลบหนีไปพ้น 1 ปี นับแต่วันหลบหนี
ค.      กรณีผู้ต้องขังถูกปล่อยตัวไปแล้ว 3 เดือน
ง.       ถูกทุกข้อ
คำตอบ  ก.  กรณีผู้ต้องขังตาย ต้องคืนทรัพย์สินของผู้ต้องขังที่ฝากไว้แก่เรือนจำให้กับทายาท ส่วนกรณีผู้ต้องขังหลลบหนีพ้นกำหนด 1 ปี นับจากวันหลบหนี หรือผู้ต้องขังถูกปล่อยตัวแล้ว ไม่รับทรัพย์สินของตนภายใน 3 เดือน ก็ให้ริบเป็นของแผ่นดินเสีย
41.       เอกสารสำคัญในการปล่อยตัวนักโทษเด็ดขาดเรียกว่าอะไร
ก.      ใบสุทธิ            ข.  ใบบริสุทธิ์
ค.      หนังสือบริสุทธิ์         ง.  หนังสือสุทธิ
คำตอบ  ข.  เรือนจำจะออกใบสำคัญในการปล่อยตัวนักโทษเด็ดขาดซึ่งเรียกว่า ใบบริสุทธิ์
42.       การปล่อยตัวนักโทษโดยไม่มีเงื่อนไข ข้อใดถูก
ก.      นักโทษที่จำคุกครบกำหนดตามคำพิพากษา
ข.      นักโทษที่ได้รับการพระราชทานอภัยโทษเฉพาะราย
ค.      นักโทษที่ได้รับการพระราชทานอภัยโทษตามพระราชกฤษฎีกา
ง.       ถูกทุกข้อ
คำตอบ  ง.  การปล่อยตัวโดยไม่มีเงื่อนไขเป็นการปล่อยตัวนักโทษเด็ดขาด  ดังนี้
1)       นักโทษที่จำคุกครบกำหนดตามคำพิพากษา
2)       นักโทษที่ได้รับการพระราชทานอภัยโทษเฉพาะราย ในกรณียื่นทูลเกล้าฯ ถวายฎีกาขอ
พระราชทานอภัยโทษต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
3)       นักโทษที่ได้รับการพระราชทานอภัยโทษตามพระราชกฤษฎีกาพระราชทานอภัยโทษใน
วาระสำคัญต่าง ๆ

43.       การปล่อยตัวโดยมีเงื่อนไข หากนักโทษผู้นั้นไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขแล้ว ข้อใดผิด
ก.      ถูกจับกลับมาอีก โดยจะต้องมีหมายจับ
ข.      ถูกจำคุกต่อไปจนครบกำหนดโทษที่ยังเหลืออยู่ โดยไม่ต้องมีหมายคุกใหม่
ค.      ถูกถอนการพักการลงโทษ หรือถอนการลดวันต้องโทษ
ง.       ถูกลงโทษทางวินัย
คำตอบ  ก.  หากนักโทษไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ จะมีผลคือ
1)       ถูกจับกลับมาอีกโดยไม่ต้องมีหมายจับ  และถูกจำคุกต่อไปจนครบกำหนดโทษที่ยัง
เหลืออยู่ โดยไม่ต้องมีหมายจำคุกใหม่
2)       ถูกถอนการพักการลงโทษ หรือถอนการลดวันต้องโทษ
3)       ถูกลงโทษทางวินัย
44.       ปัจจุบันโทษประหารชีวิต ใช้วิธีการใด
ก.      แขวนคอ            ข.  ยิง
ค.      ฉีดยาให้ตาย            ง.  เก้าอี้ไฟฟ้า
คำตอบ  ค.  ปัจจุบันกฎหมายได้เปลี่ยนโทษประหารชีวิต จากวิธียิงเป้ามาเป็นฉีดยาให้ตาย
45.       ข้อใดมิใช่โทษทางอาญาตามประมวลกฎหมายอาญา
ก.      กักกัน            ข.  กักขัง
ค.      ปรับ               ง.  ริบทรัพย์สิน
คำตอบ  ก.  กักกันเป็นวิธีการเพื่อความปลอดภัย ส่วนโทษทางอาญามีดังนี้
1)       ประหารชีวิต
2)       จำคุก
3)       กักขัง
4)       ปรับ
5)       ริบทรัพย์สิน
46.       ข้อใดมิใช่วัตถุประสงค์ของการกักกัน
ก.      ป้องกันการกระทำความผิดอีก      ข.  เพื่อดัดนิสัย
ค.      เพื่อลงโทษให้สมกับความผิด      ง.  เพื่อฝึกหัดอาชีพ
คำตอบ  ค.  วัตถุประสงค์ของการกักกัน คือ
1)       ป้องกันการกระทำความผิดอีก
2)       เพื่อดัดนิสัย
3)       เพื่อฝึกหัดอาชีพ
47.   ข้อใดมิใช่คุณสมบัติของนักโทษเด็ดขาดที่อาจถูกส่งไปอยู่ทัณฑนิคม
ก.      เป็นผู้ประพฤติดี
ข.      มีความอุตสาหะ
ค.      รับโทษในเรือนจำมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ใน 5 ของกำหนดโทษ
ง.       โทษที่เหลือไม่น้อยกว่า 2 ปี
คำตอบ  ค.  นักโทษเด็ดขาดคนใดมีคุณสมบัติดังนี้อาจถูกส่งไปอยู่ทัณฑนิคม
1)       เป็นผู้ประพฤติดี
2)       มีความอุตสาหะ
3)       มีความสามารถโดยแสดงให้เห็นผลดีในการศึกษาและการงาน
นักโทษเด็ดขาดเช่นนี้จะต้องรับโทษในเรือนจำมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ใน 4 ของกำหนดโทษ แต่โทษที่เหลือต้องไม่น้อยกว่า 2 ปี หรือถ้าเป็นโทษจำคุกตลอดชีวิตต้องรับโทษมาแล้วไม่น้อยกว่า 7 ปี
48.       ข้อใดมิใช่ประโยชน์ของนักโทษพิเศษที่ถูกส่งไปอยู่ทัณฑนิคมจะได้รับffice ffice" />
ก.      นำสามี ภริยา ญาติสืบสายโลหิต ไม่อยู่ร่วมกันได้
ข.      ได้รับกรรมสิทธิ์ในที่ดินเพื่อประกอบอาชีพ
ค.      ได้รับส่วนแบ่งจากราคาขายพืชผลที่ตนได้เพาะปลูก
ง.       ได้รับเบี้ยเลี้ยงรายเดือนเป็นรางวัล
คำตอบ  ข.  นักโทษพิเศษอาจได้รับอนุญาตให้หาประโยชน์บนที่ดินแปลงใดซึ่งจัดไว้เพื่อการนั้นเป็นการชั่วคราว โดยมีเงื่อนไขอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่เห็นสมควรจะเห็นได้ว่า เพียงแต่ได้รับอนุญาตให้หาประโยชน์ได้ แต่ไม่ได้ไปซึ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินนั้น
49.       บุคคลในข้อใดถือว่าเป็นบุคคลภายนอก ซึ่งได้รับอนุญาตให้เข้าไปในเรือนจำ
ก.      ทนายความเข้าติดต่อกับผู้ต้องขังเกี่ยวกับคดี
ข.      นักศึกษาขอเข้าไปทำการศึกษา  วิจัย
ค.      คนต่างชาติจากสถานทูตเข้าเยี่ยมผู้ต้องขังในบังคับของตน
ง.       ถูกทุกข้อ
คำตอบ  ง.  บุคคลภายนอกในที่นี้หมายถึง บุคคลซึ่งมิใช่ผู้ต้องขังหรือเจ้าพนักงานเรือนจำ ทั้งนี้ ไม่ว่าเข้าไปทำธุระใด ๆ เช่น นำของไปส่งเรือนจำ เยี่ยมผู้ต้องขัง หรือเพื่อประโยชน์อย่างอื่น เช่น ศึกษาวิจัย ดูงาน ทนายความเข้าติดต่อผู้ต้องขังเกี่ยวกับคดี ตลอดจนกงสุลหรือคนต่างชาติจากสถานทูตเข้าเยี่ยมผู้ต้องขังในบังคับของตน
50.       ข้อใดไม่ถือว่ามีความผิด
ก.      เอก ผู้ต้องขัง รับเงินจากญาติที่มาเยี่ยมเพื่อใช้ในเรือนจำ
ข.      โท ผู้ต้องขัง ให้เงินญาติที่มาเยี่ยม
ค.      ตรี ผู้ต้องขัง ให้เงิน ดำ ผู้ต้องขังด้วยกันด้วยความเสน่หา
ง.       จัตวา ผู้ต้องขัง เจอเงินหล่นอยู่จึงเก็บเอาไว้กับตัวเอง
คำตอบ  ง.  ในกรณีค้นพบเงินสดในตัวผู้ต้องขัง  โดยไม่ปรากฏว่าผู้ต้องขังเป็นผู้นำเข้าหรือรับจากผู้ต้องขังด้วยกัน เช่น ผู้ต้องขังอ้างว่าเก็บได้ เจ้าพนักงานจะริบไม่ได้เพราะการมีเงินสดไว้ในครอบครองมิใช่ความผิด หากไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าผู้ต้องขังนำเข้ามาในเรือนจำหรือรับจากผู้ใด
 
51.       ข้อใดผิดเกี่ยวกับการใช้เครื่องพันธนาการ
ก.      ใช้กับผู้ต้องขังที่น่าจะทำอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย ของตนเองหรือผู้อื่น
ข.      ใช้กับผู้ต้องขังวิกลจริต จิตไม่สมประกอบ อันอาจเป็นอันตรายต่อผู้อื่น
ค.      ใช้กับผู้ต้องขังที่พยายามจะหลบหนี
ง.       เมื่อพัศดีสั่งว่าจำเป็นต้องใช้ เนื่องจากสภาพของเรือนจำ สภาพการณ์ของท้องถิ่น
คำตอบ  ง.  เมื่อรัฐมนตรี สั่งว่าจำเป็นต้องใช้เนื่องจากสภาพของเรือนจำ สภาพการณ์ของท้องถิ่น เช่น สภาพเรือนจำไม่แข็งแรง สภาพของท้องถิ่นไม่ปลอดภัยต่อการควบคุมผู้ต้องขังคดีอุกฉกรรจ์ เป็นต้น
52.       ผู้ต้องขังตามข้อใดที่จะใช้ตรวนขนาดที่ 3
ก.      ผู้ต้องขังที่ถูกศาลสั่งลงโทษจำคุกตั้งแต่ 3 ปีขึ้นไป
ข.      ผู้ต้องขังคดีอุกฉกรรจ์
ค.      ผู้ต้องขังคดีที่เป็นที่สนใจของสาธารณะ
ง.       ข้อ ก. และ ข. ถูก
คำตอบ  ง.  การใช้เครื่องพันธนาการ โดยปกติให้ใช้ตรวจขนาดที่ 1 หรือขนาดที่ 2 หรือกุญแจเท้าเว้นแต่มีเหตุจำเป็นหรือศาลได้มีคำพิพากษาให้ลงโทษจำคุกผู้ต้องขังตั้งแต่ 3 ปีขึ้นไป หรือเป็นผู้ต้องขังในคดีอุกฉกรรจ์ จะใช้ตรวจขนาดที่ 3 ก็ได้
53.       เครื่องพันธนาการที่เพิ่มขึ้นมาใหม่คืออะไร
ก.      ตรวจ            ข.  กุญแจมือ
ค.      กุญแจเท้า            ง.  โซ่ล่าม
คำตอบ  ค.  เดิมเครื่องพันธนาการมีเพียงตรวจ กุญแจมือ และโซ่ล่าม เท่านั้น ต่อมาในปี พ.ศ.2541 ได้มีการแก้ไขกฎกระทรวง ข้อ 25-28 เพิ่มเติมกุญแจเท้ามาอีกประเภทหนึ่ง
54.       ใครเป็นผู้มีอำนาจกำหนดชนิดอาวุธที่เจ้าพนักงานเรือนจำจะพึงใช้
ก.      รัฐมนตรี            ข.  อธิบดี
ค.      ผู้บัญชาการเรือนจำ         ง.  พัศดี
คำตอบ  ก.  รัฐมนตรีมีอำนาจกำหนดชนิดอาวุธที่เจ้าพนักงานเรือนจำจะพึงใช้และวางเงื่อนไขในการถือหรือมีอาวุธนั้น ๆ
55.       บุคคลใดที่ไม่มีอำนาจสั่งลงโทษผู้กระทำผิดวินัยตามพระราชบัญญัติวินัยข้าราชการกรมราชทัณฑ์
พ.ศ.2482
ก.      ปลัดกระทรวง         ข.  ผู้บัญชาการเรือนจำ
ค.      พัศดี            ง.  ผู้คุม
56.   วินัยข้าราชการกรมราชทัณฑ์ ใช้บังคับแก่ข้าราชการกรมราชทัณฑ์ที่ได้รับการแต่งตั้งให้ปฏิบัติราชการในที่ffice ffice" />
ใดบ้าง
ก.      เรือนจำ            ข.  ทัณฑนิคม
ค.      สถานฝึกอบรม         ง.  ถูกทุกข้อ
คำตอบ  ง.  วินัยข้าราชการกรมราชทัณฑ์ใช้บังคับแก่ข้าราชการกรมราชทัณฑ์ที่ได้รับการแต่งตั้งให้ปฏิบัติราชการใน
1)       เรือนจำ  ทัณฑนิคม  นิคมฝึกอาชีพ หรือทัณฑสถานอื่น ที่ตั้งขึ้นตามกฎหมาย
2)       สถานฝึกอบรม
57.   ข้อใดคือวินัยข้าราชการกรมราชทัณฑ์ต่อผู้ใต้บังคับบัญชา
ก.      ตักเตือนแนะนำสั่งสอนให้มีความประพฤติดี
ข.      แส
57.   ข้อใดคือวินัยข้าราชการกรมราชทัณฑ์ต่อผู้ใต้บังคับบัญชา
ก.      ตักเตือนแนะนำสั่งสอนให้มีความประพฤติดี
ข.      แสดงความเมตตาต่อผู้ใต้บังคับบัญชา
ค.      แต่งเครื่องแบบที่กำหนดไว้โดยเคร่งครัด
ง.       ไม่ปิดบังความผิดของเจ้าพนักงาน
คำตอบ  ก.  วินัยต่อผู้ใต้บังคับบัญชา คือ มีหน้าที่ตักเตือน  แนะนำ  สั่งสอนผู้ใต้บังคับบัญชาให้มีความประพฤติดีและปฏิบัติโดยเคร่งครัดตามกฎหมาย กฎข้อบังคับ  และระเบียบแบบแผนของเรือนจำ  ทัณฑนิคม  นิคมฝึกอาชีพ  ทัณฑสถานอื่น  ที่ตั้งขึ้นตามกฎหมาย หรือสถานฝึกอบรม
58.   เหตุใดกรมราชทัณฑ์จึงต้องจัดทำจรรยาบรรณของข้าราชการกรมราชทัณฑ์ขึ้นเป็นการเฉพาะ
ก.      รัฐธรรมนูญบัญญัติให้รัฐจัดทำมาตรฐานทางคุณธรรมและจริยธรรมของข้าราชการ
ข.      ลักษณะงานของกรมราชทัณฑ์แตกต่างไปจากงานของข้าราชการพลเรือนอื่น
ค.      จรรยาบรรณข้าราชการพลเรือนมีเนื้อหาไม่ครอบคลุมลักษณะงานราชทัณฑ์ได้ทั้งหมด
ง.       ถูกทุกข้อ
คำรอบ  ง.  เนื่องจากรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ได้บัญญัติให้รัฐจัดทำมาตรฐานทางคุณธรรมและจริยธรรมของข้าราชการ เพื่อป้องกันการทุจริตและประพฤติมิชอบ ประกอบกับ ลักษณะงานของกรมราชทัณฑ์มีความแตกต่างไปจากงานของข้าราชการพลเรือนอื่น ๆ  ซึ่งจรรยาบรรณของข้าราชการพลเรือนมีเนื้อหาไม่ครอบคลุมลักษณะงานราชทัณฑ์ได้ทั้งหมด กรมราชทัณฑ์จึงได้จัดทำจรรยาบรรณของข้าราชการราชทัณฑ์ขึ้นเป็นการเฉพาะ
59.   ข้อใดไม่ใช่หลักซึ่งข้าราชการกรมราชทัณฑ์พึงปฏิบัติต่อผู้ต้องขัง
ก.      หลักสิทธิมนุษยชน         ข.  หลักศาสนา
ค.      หลักทัณฑวิทยา         ง.  หลักเมตตาธรรม
คำตอบ  ข.  ข้าราชการราชทัณฑ์พึงปฏิบัติต่อผู้ต้องขังด้วยความเป็นธรรมตามหลักสิทธิมนุษยชน  หลักทัณฑวิทยา  หลักเมตตาธรรม  หลักมนุษยธรรม

60.   ข้อใดเป็นแนวทางปฏิบัติเพื่อแก้ไขฟื้นฟูพฤตินิสัยของผู้ต้องขังให้กลับตนเป็นคนดี
ก.      ศึกษาประวัติผู้ต้องขังที่อยู่ในความควบคุม
ข.      หมั่นตรวจสถานที่ที่ใช้ในการควบคุมผู้ต้องขัง
ค.      ปฏิบัติงานตามที่ญาติผู้ต้องขังติดต่อมา
ง.       ให้ผู้ต้องขังทุกคนได้รับการศึกษาอบรม ทั้งด้านสามัญวิชาชีพและธรรมศึกษา
คำตอบ  ง.  แนวทางปฏิบัติเพื่อแก้ไขฟื้นฟูพฤตินิสัยและผู้ต้องขังให้กลับตนเป็นคนดี ได้แก่
1)       ให้การอบรมสั่งสอนผู้ต้องขับให้กลับตัวเป็นคนดีของสังคม
2)       จัดให้มีการแยกการควบคุมและเลือกปฏิบัติต่อผู้ต้องขังแต่ละคนอย่างถูกต้อง
3)       ให้ผู้ต้องขังทุกคนได้รับการศึกษาอบรม ทั้งด้านสามัญวิชาชีพ และธรรมศึกษา
4)       ดำเนินการให้ผู้ต้องขังที่ใกล้พ้นโทษสามารถปรับสภาพความพร้อมก่อนออกไปสู่สังคม
ภายนอก
5)       ส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้ต้องขังทุกคนได้มีงานทำหลังพ้นโทษ เพื่อป้องกันมิให้กลับไปกระทำ
ความผิดซ้ำอีก
61.   ข้อใดมิใช่แนวทางปฏิบัติในการให้บริการแก่ญาติผู้ต้องขัง
ก.      ให้ความสะดวกอย่างเต็มที่ ไม่เลือกปฏิบัติ
ข.      ใช้วาจาสุภาพ ให้คำแนะนำด้วยอัธยาศัยไมตรีอันดี
ค.      ปฏิบัติงานตามที่มีผู้มาขอใช้บริการด้วยความรวดเร็ว ถูกต้อง
ง.       เอาใจใส่ต่อการควบคุมผู้ต้องขัง  ทั้งในเวลาราชการปกติและขณะปฏิบัติหน้าที่เวรยาม
คำตอบ  ง.  แนวทางปฏิบัติในการให้บริการแก่ญาติผู้ต้องขังและผู้มาติดต่อด้วยความโปร่งใส  รวดเร็ว  และประทับใจ  ได้แก่
1)       ให้ความสะดวกแก่ญาติผู้ต้องขัง  ผู้มาติดต่อราชการอย่างเต็มที่ด้วยความเสมอภาคไม่
เลือกปฏิบัติ
2)       ใช้วาจาสุภาพและให้คำแนะนำแก่ญาติผู้ต้องขัง ผู้มาติดต่อด้วยอัธยาศัยไมตรีอันดี
3)       ปฏิบัติงานตามที่มีผู้ขอใช้บริการด้วยความรวดเร็ว  ถูกต้อง
4)       ปิดประกาศขั้นตอนในทางปฏิบัติเกี่ยวกับเรื่องต่าง ๆ ไว้ รวมทั้งแจ้งกำหนดระยะเวลาใน
การดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องนั้น ๆ ให้ญาติผู้ต้องหาได้ทราบ
5)       ในการเยี่ยมผู้ต้องขังของญาติ ควรจัดสถานที่ จัดให้มีสิ่งอำนวยความสะดวกให้เพียงพอ
เหมาะสม
6)       ไม่เรียกรับผลประโยชน์ใด ๆ จากญาติผู้ต้องขังหรือผู้มาติดต่อราชการ
62.   ปัจจุบันรัฐมนตรีตามข้อใดมีอำนาจบังคับบัญชากรมราชทัณฑ์
ก.      รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
ข.      รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
ค.      รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
ง.       รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
คำตอบ  ข.  รัฐมนตรี หมายความว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงซึ่งบังคับบัญชาการราชทัณฑ์ (มาตรา 4 (7)) ซึ่งปัจจุบันได้มีการโอนกรมราชทัณฑ์ ซึ่งเดิมสังกัดกระทรวงมหาดไทยไปสังกัดกระทรวงยุติธรรมแล้ว
63.   เรือนจำมีกี่ประเภทffice ffice" />
ก.      3  ประเภท            ข.  4  ประเภท
ค.      5  ประเภท            ง.  6  ประเภท
คำตอบ  ข.  ปัจจุบันได้มีกฎกระทรวง ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2547)  ออกตามความในพระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พ.ศ.2479 แบ่งเรือนจำออกเป็น 4 ประเภท ดังนี้ 1) เรือนจำกลาง  2) เรือนจำส่วนภูมิภาค  ซึ่งประกอบด้วย  เรือนจำจังหวัดและเรือนจำอำเภอ  3) เรือนจำพิเศษหรือทัณฑสถาน  4) เรือจำชั่วคราว
64.   ข้อใดมิใช่เครื่องพันธนาการ
ก.      โซ่ล่าม            ข.  ตรวน
ค.      กุญแจเท้า            ง.  ไม้ตะบอง
คำตอบ  ง.  ในการบริหารเรือนจำบางครั้งมีความจำเป็นจะต้องใช้เครื่องพันธนาการ เพื่อขัดขวางมิให้ผู้ต้องขังสามารถเคลื่อนไหวได้โดยง่าย เป็นการมิให้ผู้ต้องขังก่อการร้าย เช่น แหกหัก  หลบหนี  หรือทำความเสียหายแก่ชีวิตและทรัพย์สินของตนเองหรือผู้อื่นโดยการผูกมัด รัดรึง แขน ขา ด้วยวัตถุชนิดใด ชนิดหนึ่ง โดยเครื่องพันธนาการตามกฎหมายไทย มี 5 ชนิด คือ 1) ตรวน  2) กุญแจมือ  3) กุญแจเท้า  4) โซ่ล่าม  5) เครื่องพันธนาการอย่างอื่นที่เบากว่า ตรวน  กุญแจมือ  กุญแจเท้า  โซ่ล่าม
65.   ข้อใดมิใช่อาวุธของเจ้าพนักงานเรือนจำในการปฏิบัติหน้าที่
ก.      มีด               ข.  ปืนพก
ค.      ปืนยาว            ง.  ไม้ตะบอง
คำตอบ  ก.  อาวุธที่เจ้าพนักงานเรือนจำจะพึงใช้ในการปฏิบัติหน้าที่มี 3 ชนิด คือ 1)ปืนพก 2)ปืนยาว 3)ไม้ตะบอง
66.   ในการกำหนดชั้นของนักโทษ กำหนดไว้กี่ชั้น
ก.      3  ชั้น            ข.  4  ชั้น
ค.      5  ชั้น            ง.  6  ชั้น
คำตอบ  ง.  การกำหนดชั้นของผู้ต้องขัง กำหนดไว้เฉพาะนักโทษเด็ดขาดเท่านั้น (นักโทษเด็ดขาด คือ (1) บุคคลซึ่งถูกขังไว้ตามหมายจำคุก  ภายหลังคำพิพากษาถึงที่สุด และ 2) บุคคลซึ่งถูกขังไว้ตามคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายให้ลงโทษ) ผู้ต้องขังประเภทอื่นยังไม่มีชั้น และชั้นนักโทษเด็ดขาด กำหนดไว้ 6 ชั้น คือ (1) ชั้นเยี่ยม (2) ชั้นดีมาก (3) ชั้นดี (4) ชั้นกลาง (5) ชั้นเลว และ (6) ชั้นเลวมาก
67.   นักโทษเด็ดขาดที่เข้าใหม่ จัดอยู่ในชั้นใดของนักโทษเด็ดขาด
ก.      ชั้นดี            ข.  ชั้นกลาง
ค.      ชั้นเลว            ง.  ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของเจ้าพนักงาน
คำตอบ  ข.  หลักเกณฑ์ในการกำหนดชั้นของนักโทษเด็ดขาด มีดังนี้ 1) นักโทษเด็ดขาดเข้าใหม่จัดให้อยู่ในชั้นกลาง  2) นักโทษเด็ดขาดซึ่งถูกจำคุกมากกว่า 1 ครั้ง หากการจำคุกครั้งปัจจุบันกับครั้งก่อนมิใช่ความผิดลหุโทษ (ความผิดลหุโทษ คือ ความผิดที่มีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงไม่เกิน 1 เดือน ปรับไม่เกิน 1,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ) หรือการกระทำโดยประมาท ให้จัดอยู่ในชั้นเลว


68.   ข้อใดมิใช่คณะกรรมการในการตรวจกิจการของเรือนจำ
ก.      พนักงานอัยการ         ข.  แพทย์
ค.      ข้าราชการกระทรวงมหาดไทย      ง.  ข้าราชการตำรวจ
คำตอบ  ง.  รัฐมนตรีมีอำนาจตั้งคณะกรรมการเรือนจำและกำหนดอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการในการตรวจพิจารณากิจกการของเรือนจำและให้คำแนะนำแก่เจ้าพนักงานเรือนจำ โดยคณะกรรมการมีจำนวนไม่เกิน 5 นาย ซึ่งได้แต่งตั้งจาก  1) ข้าราชการตุลาการสังกัดกระทรวงยุติธรรม  2) ข้าราชการสังกัดกระทรวงธรรมการ (ปัจจุบันคือกระทรวงมหาดไทย)  3) ข้าราชการสังกัดกระทรวงเกษตราธิการ (ปัจจุบันคือกระทรวงเกษตรและสหกรณ์)       4) ข้าราชการสังกัดกระทรวงการคลัง  5) ข้าราชการสังกัดกระทรวงการต่างประเทศ  6) เจ้าพนักงานแพทย์          7) เจ้าพนักงานอัยการ และ 8) ข้าราชการหรือบุคคลอื่นตามแต่รัฐมนตรีจะเห็นสมควร
69.   ข้อใดเป็นขั้นตอนในการรับตัวผู้ต้องขังมาไว้ในเรือนจำ
ก.      ตรวจสอบหมายอาญา         ข.  ตรวจค้นสิ่งของที่ตัวผู้ต้องขัง
ค.      แยกตัวผู้ต้องขัง         ง.  ถูกทุกข้อ
คำตอบ  ง.  เมื่อผู้ต้องขังมาสู่เรือนจำ เจ้าพนักงานเรือนจำผู้มีหน้าที่จะต้อง  1) ตรวจสอบว่า มีหมายอาญาหรือเอกสารของเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจให้คุมขังผู้นั้นไว้ เช่น หมายขัง  หมายจำคุก  หนังสือของผู้อำนวยการสถานพินิจฯ เป็นต้น  2) ตรวจค้นสิ่งของที่ตัวผู้ต้องขัง  เพื่อป้องกันมิให้ลักลอบนำสิ่งของต้องห้ามเข้าไปในเรือนจำ          3) ในการค้นต้องให้เจ้าพนักงานเพศเดียวกับผู้ต้องขังเป็นผู้ค้น  4) ในกรณีเรือนจำไม่มีเจ้าพนักงานหญิงตรวจค้นผู้ต้องขังหญิง  เจ้าพนักงานมีอำนาจเชิญหญิงอื่นที่เชื่อถือได้มาทำการตรวจค้นได้  5) จดบันทึกเกี่ยวกับผู้ต้องขังไว้ในเอกสารของเรือนจำ  6) แยกตัวผู้ต้องขังใหม่ เพื่อส่งให้แพทย์ตรวจสุขภาพต่อไป
70.   ใครเป็นผู้มีอำนาจสั่งย้ายผู้ต้องขังจากเรือนจำหนึ่งไปยังอีกเรือนจำหนึ่ง
ก.      อธิบดีกรมราชทัณฑ์
ข.      รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
ค.      รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
ง.       ผู้บัญชาการเรือนจำ
คำตอบ  ก.  หลักเกณฑ์มาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พ.ศ.2479 กำหนดให้การย้ายผู้ต้องขังจากเรือนจำหนึ่งไปยังอีกเรือนจำหนึ่งไปเป็นตามคำสั่งของอธิบดี (อธิบดี หมายความว่า อธิบดีกรมราชทัณฑ์ ตามมาตรา 4 (8))
71.   นักโทษเด็ดขาดที่สามารถออกไปทำงานสาธารณะนอกเรือนจำได้จะต้องมีเงื่อนตามข้อใด
ก.      เหลือโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน      ข.  เหลือโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี
ค.      เหลือโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี 6 เดือน   ง.  เหลือโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี
คำตอบ  ง.  ในกรณีที่เจ้าพนักงานเรือนจำสั่งให้นักโทษเด็ดขาดออกไปทำงานสาธารณะนอกเรือนจำให้อธิบดีแต่งตั้งคณะกรรมการคณะหนึ่งไม่น้อยกว่า 3 คน เป็นผู้พิจารณาคัดเลือกนักโทษเด็ดขาดซึ่งเหลือโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี เพื่อทำงานสาธารณะ
72.   เมื่อใดที่ทรัพย์สินของผู้ต้องขังจะต้องถูกริบให้ตกเป็นของแผ่นดินffice ffice" />
ก.      เมื่อผู้ต้องขังหลบหนีพ้นกำหนด 6 เดือน นับจากวันหลบหนี
ข.      เมื่อผู้ต้องขังหลบหนีพ้นกำหนด 1 ปี นับจากวันหลบหนี
ค.      เมื่อผู้ต้องขังหลบหนีพ้นกำหนด 1 ปี 6 เดือน นับจากวันหลบหนี
ง.       เมื่อผู้ต้องขังหลบหนีพ้นกำหนด 2 ปี นับจากวันหลบหนี
คำตอบ  ข.  ทรัพย์สินของผู้ต้องขังที่ตกค้างอยู่ในเรือนจำให้ริบเป็นของแผ่นดิน  ในกรณีต่อไปนี้  1) ผู้ต้องขังหลบหนีพ้นกำหนด 1 ปี นับจากวันหลบหนี  2) ผู้ต้องขังถูกปล่อยตัวแล้วไม่รับทรัพย์สิน หรือรางวัลของตนไปภายในกำหนด 3 เดือน นับจากวันปล่อยตัว
73.   ผู้ใดเข้าไปในเรือนจำโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานมีระวางโทษเท่าใด
ก.      จำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 500 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ข.      จำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 1,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ค.      จำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 500 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ง.       จำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 1,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
คำตอบ  ค.  ผู้ใดเข้าไปในเรือนจำโดยไม่ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่หรือบังอาจรับจากหรือส่งมอบแก่ผู้ต้องขัง  นำเข้ามาหรือเอาออกไปจากเรือนจำซึ่งเงินหรือสิ่งของต้องห้ามโดยทางใด ๆ อันฝ่าฝืนระเบียบหรือข้อบังคับของเรือนจำ ผู้นั้นมีความผิดต้องระวางโทษ ปรับไม่เกิน 500 บาท หรือจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือทั้งปรับทั้งจำ (มาตรา 45)
74.   ใครเป็นผู้มีอำนาจตั้งทัณฑนิคม
ก.      รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม   ข.  อธิบดีกรมราชทัณฑ์
ค.      ผู้บัญชาการเรือนจำ         ง.  ถูกทุกข้อ
คำตอบ  ก.  ตามมาตรา 47 รัฐมนตรีมีอำนาจตั้งทัณฑนิคมเพื่อควบคุมและดำเนินการฝึกอบรมนักโทษเด็ดขาดในชั้นถัดจากเรือนจำต่อไปและมีอำนาจที่จะยุบเลิกทัณฑนิคมนั้น
75.   นักโทษเด็ดขาด ซึ่งส่งไปอยู่ทัณฑนิคม คือบุคคลตามข้อใด
ก.      ผู้ต้องขัง            ข.  คนต้องขัง
ค.      คนฝาก            ง.  นักโทษพิเศษ
คำตอบ  ง.  ตามหลักเกณฑ์ มาตรา 4 (6) นักโทษพิเศษ หมายความว่า นักโทษเด็ดขาด  ซึ่งส่งไปอยู่ทัณฑนิคมตามพระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พ.ศ.2479
76.   ข้อใดจัดเป็นเรือนจำภูมิภาค
ก.      เรือนจำกลาง            ข.  เรือนจำจังหวัด
ค.      เรือนจำอำเภอ         ง.  ถูกเฉพาะข้อ ข และ ข้อ ค
คำตอบ  ง.  เรือนจำภูมิภาคแบ่งออกเป็น  1) เรือนจำจังหวัด  และ  2) เรือนจำอำเภอ  โดยปกติเรือนจำภูมิภาคจะรับควบคุมกักขังผู้ต้องขังที่เป็นคนฝาก  คนต้องขัง  นักโทษเด็ดขาดจำขังแทนค่าปรับ  นักโทษเด็ดขาดที่มีกำหนดโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี


77.   การเลื่อนชั้นนักโทษให้กระทำเมื่อใด
ก.      สิ้นเดือนกันยายน         ข.  สิ้นเดือนตุลาคม
ค.      สิ้นเดือนพฤศจิกายน         ง.  สิ้นเดือนธันวาคม
คำตอบ  ก.  การเลื่อนชั้นนักโทษเด็ดขาดนั้นให้กระทำในวันสิ้นเดือนกันยายนครั้งที่หนึ่งและวันสิ้นเดือนมีนาคมอีกครั้งหนึ่ง  ในกรณีมีเหตุพิเศษจะเลื่อนชั้นก่อนเวลาดังกล่าวก็ได้  แต่ต้องให้อธิบดีอนุมัติ
78.   ตรวนมีกี่ขนาด
ก.      2  ขนาด            ข.  3  ขนาด
ค.      4  ขนาด            ง.  5  ขนาด
คำตอบ  ข.  ตรวน มี 3 ขนาด คือ  1) ขนาดที่ 1 วัดผ่าศูนย์กลางเหล็กวงแหวน ffice:smarttags" />10 มิลลิเมตร  2) ขนาดที่ 2 วัดผ่าศูนย์กลางเหล็กวงแหวน 12 มิลลิเมตร  3) ขนาดที่ 3 วัดผ่าศูนย์กลางเหล็กวงแหวน 17 มิลลิเมตร
79.   เมื่อผู้ต้องขังพ้นโทษ หรือศาลสั่งให้ปล่อยตัว  ข้อใดที่ทางเรือนจำไม่ต้องดำเนินการ
ก.      เรียกตัวสามีหรือภริยาหรือญาติผู้ต้องขังมารับตัว   
ข.      เรียกพัสดุของหลวงคืนจากผู้ต้องขัง
ค.      ทำหลักฐานในการปล่อยตัว
ง.       ออกใบสุทธิให้
คำตอบ  ก.  ผู้ต้องขังที่พ้นโทษหรือศาลสั่งให้ปล่อยตัว ทางเรือนจำจะต้องดำเนินการดังนี้  1) เรียกพัสดุของหลวงคืนจากผู้ต้องขัง  2) ผู้ต้องขังคนใดไม่มีเครื่องแต่งกายจะแต่งออกไปจากเรือนจำให้เรือนจำจ่ายเครื่องแต่งกายให้สำรับหนึ่ง (1 ชุด)  ตามที่กรมราชทัณฑ์กำหนดไว้  3) ทำหลักฐานในการปล่อยตัว  4) คืนทรัพย์สินของผู้ต้องขังให้แก่ผู้ต้องขังไป  5) ออกใบสุทธิให้
80.   เรือนจำตามข้อใดต้องจัดให้มีสารวัตรเรือนจำ
ก.      เรือนจำที่มีผู้ต้องขังตั้งแต่    500 คน ขึ้นไป
ข.      เรือนจำที่มีผู้ต้องขังตั้งแต่ 1,000 คน ขึ้นไป
ค.      เรือนจำที่มีผู้ต้องขังตั้งแต่ 2,000 คน ขึ้นไป
ง.       เรือนจำที่มีผู้ต้องขังตั้งแต่ 3,000 คน ขึ้นไป
คำตอบ  ข.  เรือนจำใดมีกิจการยุ่งยากหรือสำคัญที่ต้องเอาใจใส่เป็นพิเศษ หรือมีผู้ต้องขังเป็นจำนวน 1,000 คน    ขึ้นไป  ให้อธิบดีดำเนินการเพื่อมีสารวัตรเรือนจำเป็นเจ้าพนักงานประจำเรือนจำ
81.   ?ชั้นยามในคือ  ชั้นของนักโทษตามข้อใด
ก.      ชั้นเยี่ยม            ข.  ชั้นดีมาก
ค.      ชั้นเลว            ง.  ชั้นเลวมาก
คำตอบ  ข.  นักโทษเด็ดขาดซึ่งอยู่ในชั้นต่าง ๆ  ก่อนวันใช้พระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พ.ศ.2479 ให้ปรับเทียบชั้นตามที่กำหนดไว้ ดังนี้  1) ชั้นยามใน ปรับเทียบเข้าชั้นดีมาก  2) ชั้น 1 และชั้น ปรับเทียบเข้าชั้นดี นอกนั้นเข้าเทียบชั้นกลาง
82.   ข้อใดมิใช่โทษทางวินัยของข้าราชการราชทัณฑ์ffice ffice" />
ก.      จำคุก            ข.  ขัง
ค.      เพิ่มเวรยาม            ง.  กักบริเวณ
คำตอบ  ก.  ข้าราชการราชทัณฑ์ ผู้ใดประพฤติผิดวินัยตามพระราชบัญญัติวินัยข้าราชการกรมราชทัณฑ์ฯ  อาจต้องโทษตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราช
83.   ผู้บัญชาการเรือนจำมีอำนาจสั่งลงโทษขังผู้คุมได้กี่วัน
ก.      10  วัน            ข.  15  วัน
ค.      30  วัน            ง.  45  วัน
คำตอบ  ก.  ผู้บัญชาการเรือนจำมีอำนาจสั่งขังผู้คุมที่กระทำผิดวินัยได้ 10 วัน ลงโทษเพิ่มเวรยามได้ 15 วัน และกักบริเวณได้ 20 วัน
84.   ใครเป็นผู้มีอำนาจสั่งกักบริเวณผู้คุมได้ 15 วัน
ก.      อธิบดีกรมราชทัณฑ์         ข.  ผู้บัญชาการเรือนจำ
ค.      สารวัตรเรือนจำ         ง.  พัศดี
คำตอบ  ค.  สารวัตรเรือนจำมีอำนาจสั่งขังผู้คุมที่กระทำผิดวินัยได้ 7 วัน ลงโทษเพิ่มเวรยามได้ 10 วัน และกักบริเวณได้ 15 วัน
85.   ข้อใดมิใช่ข้อกำหนดวินัยข้าราชการราชทัณฑ์
ก.      วินัยต่อตนเอง         ข.  วินัยต่อผู้ต้องขัง
ค.      วินัยต่อสังคม            ง.  วินัยต่อผู้ใต้บังคับบัญชา
คำตอบ  ค.  ข้อกำหนดวินัยข้าราชการราชทัณฑ์  ตามพระราชบัญญัติวินัยข้าราชการราชทัณฑ์ฯ แบ่งเป็น  3  หมวดหมู่  คือ  (1)  วินัยต่อตนเอง  (2)  วินัยต่อผู้ต้องขัง  ผู้กักกัน  หรือเด็กในสถานฝึกและอบรม  (3)  วินัยต่อผู้ใต้บังคับบัญชาหรืออยู่ในความควบคุม 
86.   ไม่รับทรัพย์สินจากญาติมิตรของผู้ต้องขัง  จัดเป็นวินัยตามข้อใด
ก.      วินัยต่อตนเอง         ข.  วินัยต่อผู้ต้องขัง
ค.      วินัยต่อผู้ใต้บังคับบัญชา      ง.  ถูกทุกข้อ
คำตอบ  ข.  วินัยต่อผู้ต้องขัง  คือ  (1)  ไม่รับทรัพย์สินจากญาติมิตรผู้ต้องขัง  (2)  ไม่เป็นสื่อติดต่อโดยทางตรงหรือทางอ้อมระหว่างผู้ต้องขังกับญาติมิตร  (3)  ไม่รับหรือสัญญาว่าจะรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อย่างใด ๆ จากผู้ต้องขัง  (4)  ไม่กล่าวเท็จ  ยั่วเย้า  หรือทะเลาะวิวาทกับผู้ต้องขัง  (5)  แสดงความเมตตากรุณาต่อผู้ต้องขัง  (6)  ประพฤติตนให้เป็นตัวอย่างอันดีงามแก่ผู้ต้องขัง
87.   วินัยข้าราชการพลเรือน  แบ่งเป็นกี่หมวดหมู่
ก.       3  หมวดหมู่            ข.  4 หมวดหมู่
ข.      5 หมวดหมู่            ง.  6  หมวดหมู่
คำตอบ  ง.  วินัยข้าราชการพลเรือน มี 6 หมวดหมู่ คือ (1)  วินัยต่อผู้บังคับบัญชา  (2)  วินัยต่อผู้ร่วมงาน  (3)  วินัยต่อประชาชน  (4)  วินัยต่อตำแหน่งหน้าที่  (5)  วินัยต่อตนเอง  (6)  วินัยต่อประเทศชาติ  อ.วันนรัตน์


88.   จรรยาบรรณข้าราชการราชทัณฑ์มีผลใช้ปฏิบัติตั้งแต่เมื่อใด
ก.       1  มกราคม  2542         ข.  1  สิงหาคม  2542
ค.      30  มกราคม  2542         ง.  30  สิงหาคม  2542
คำตอบ  ง.  อ.ก.พ. กรมราชทัณฑ์ได้มีการประชุม  ครั้งที่ 3/2542 เมื่อวันที่  18  สิงหาคม  2542  ให้กรมราชทัณฑ์มีประกาศกรมราชทัณฑ์ว่าด้วยจรรยาบรรณข้าราชการราชทัณฑ์  ลงวันที่  30  สิงหาคม  2542  ให้มีผลถือปฏิบัติตั้งแต่วันที่  30  สิงหาคม  2542  เป็นต้นไป
89.   เหตุใดจึงต้องกำหนดจรรยาบรรณข้าราชการราชทัณฑ์ขึ้นใช้โดยเฉพาะ
ก.      เพราะกรมราชทัณฑ์เป็นหน่วยงานอิสระ
ข.      เพราะต้องการเป็นผู้นำให้กับหน่วยงานอื่น
ค.      เพราะงานราชทัณฑ์แตกต่างจากงานข้าราชการพลเรือนอื่น
ง.       เพราะจำนวนข้าราชการในกรมราชทัณฑ์มีเป็นจำนวนมาก
คำตอบ  ค.  เนื่องจากลักษณะงานของกรมราชทัณฑ์มีความแตกต่างไปจากงานของข้าราชการพลเรือนอื่น ๆ ซึ่งจรรยาบรรณของข้าราชการพลเรือนตามข้อบังคับที่ ก.พ. กำหนดขึ้น  ยังมีเนื้อหาไม่ครอบคลุมลักษณะงานราชทัณฑ์ได้ทั้งหมด  กรมราชทัณฑ์จึงต้องจัดทำจรรยาบรรณของข้าราชการราชทัณฑ์ขึ้นเป็นการเฉพาะ 
www.actcorner.com
90.   จรรยาบรรณข้าราชการราชทัณฑ์มีแนวทางปฏิบัติกี่ข้อ
ก.      3  ข้อ            ข.  4  ข้อ
ค.      5  ข้อ            ง.  6  ข้อ
คำตอบ  ง.  แนวทางปฏิบัติตามจรรยาบรรณข้าราชการราชทัณฑ์ มี 6 ข้อ คือ (1)  พึงสำนึกและรักษาไว้ซึ่งศักดิ์ศรีและเกียรติภูมิแห่งวิชาชีพราชทัณฑ์  (2)  พึงอุทิศแรงกาย  แรงใจปฏิบัติหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายให้บรรลุผลสำเร็จโดยไม่เห็นแก่ความเหนื่อยยากยึดถือความถูกต้อง  เที่ยงธรรม  และมีความรับผิดชอบ  (3)  พึงปฏิบัติต่อผู้ต้องขังด้วยความเป็นธรรมตามหลักสิทธิมนุษยชน  หลักทัณฑวิทยา  หลักเมตตาธรรม  และหลักมนุษยธรรม  (4)  พึงมุ่งมั่นที่จะร่วมมือกันฟื้นฟูแก้ไขพัฒนาพฤตินิสัยของผู้ต้องขังให้กลับตนเป็นคนดีของสังคม  (5)  พึงสอดส่องดูแล  ตรวจตรา  ตรวจค้น  และหาข่าว  เพื่อประสิทธิภาพในการควบคุมและร่วมมือกันแก้ไขวิกฤติการณ์ที่เกิดขึ้น  (6)  พึงให้บริการแก่ญาติผู้ต้องขังและผู้มาติดต่อด้วยความโปร่งใส  รวดเร็ว  และประทับใจ
91.   ข้อใดมิใช่ประโยชน์ของการปฏิบัติตามจรรยาบรรณข้าราชการราชทัณฑ์
ก.      ข้าราชการมีความเป็นอยู่ดีขึ้น      ข.  ข้าราชการเกิดความภาคภูมิใจในศักดิ์ศรี
ค.      ข้าราชการมีความก้าวหน้าในอาชีพ   ง.  ได้รับการยกย่องจากสังคม
คำตอบ  ก.  ประโยชน์ของการปฏิบัติตามจรรยาบรรณข้าราชการราชทัณฑ์  คือ  (1)  ข้าราชการราชทัณฑ์มีแนวทางในการปฏิบัติงานและปฏิบัติตนอย่างถูกต้องเหมาะสม  (2)  ทำให้การปฏิบัติงานของข้าราชการราชทัณฑ์เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด  (3)  เกิดความภาคภูมิใจและความมีศักดิ์ศรี  (4)  มีความก้าวหน้าอาชีพราชการ  (5)  ได้รับการยกย่องจากหน่วยงานและสังคม
 92.   ข้าราชการราชทัณฑ์ตามพระราชบัญญัติวินัยข้าราชการราชทัณฑ์ พ.ศ.2482  หมายถึง  ข้าราชการ        ตามข้อใดffice ffice" />
ก.      ข้าราชการในกรมราชทัณฑ์ทั้งหมด
ข.      ข้าราชการในส่วนกลางของกรมราชทัณฑ์
ค.      ข้าราชการที่ได้รับแต่งตั้งให้ปฏิบัติราชการในเรือนจำ
ง.       ข้าราชการกรมราชทัณฑ์ตั้งแต่ระดับ 7 ลงมา
คำตอบ  ก.  ประโยชน์ของการปฏิบัติตามจรรยาบรรณข้าราชการราชทัณฑ์  คือ  (1)  ข้าราชการราชทัณฑ์มีแนวทางในการปฏิบัติงานและปฏิบัติตนอย่างถูกต้องเหมาะสม  (2)  ทำให้การปฏิบัติงานของข้าราชการราชทัณฑ์เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด  (3)  เกิดความภาคภูมิใจและความมีศักดิ์ศรี  (4)  มีความก้าวหน้าอาชีพราชการ  (5)  ได้รับการยกย่องจากหน่วยงานและสังคม
93.   ใครทำหน้าที่เป็นประธานคณะทำงานยกร่างจรรยาบรรณข้าราชการราชทัณฑ์
ก.      อธิบดีกรมราชทัณฑ์         ข.  รองอธิบดีกรมราชทัณฑ์
ค.      ผู้อำนวยการกองการเจ้าหน้าที่      ง.  เลขาธิการ ก.พ.
คำตอบ  ค.  กรมราชทัณฑ์ได้รับการสนับสนุนจากสำนักงาน ก.พ. ให้เข้าร่วมเป็นกรมต้นแบบในโครงการส่งเสริมประสิทธิภาพในส่วนราชการด้านการเสริมสร้างวินัยและคุณธรรม  โดยในชั้นต้นได้แต่งตั้งคณะทำงานยกร่างจรรยาบรรณข้าราชการราชทัณฑ์  ซึ่งมีผู้อำนวยการกองการเจ้าหน้าที่เป็นประธาน
94.   ใครเป็นประธานคณะทำงานพิจารณาความเหมาะสมของร่างจรรยาบรรณ
ก.      อธิบดีกรมราชทัณฑ์         ข.  รองอธิบดีกรมราชทัณฑ์ฝ่ายวิชาการ
ค.      รองอธิบดีกรมราชทัณฑ์ฝ่ายบริหาร   ง.  รองอธิบดีกรมราชทัณฑ์ฝ่ายพัฒนา
คำตอบ  ค.  เมื่อคณะทำงานยกร่างจรรยาบรรณฯ  ดำเนินการยกร่างแล้ว  ก็จะทำการออกแบบสอบถามไปยังข้าราชการกรมราชทัณฑ์ทั่วประเทศให้ร่วมแสดงความคิดเห็นและได้นำผลจากการประเมินแบบสอบถาม  เข้าร่วมสัมมนาผู้บริหารระดับสูงของกรมราชทัณฑ์  เข้าร่วมแสดงความคิดเห็นแล้วนำผลจากการสัมมนากำหนดเป็นร่างจรรยาบรรณ  จากนั้นได้แต่งตั้งคณะทำงานพิจาณาความเหมาะสมของร่างจรรยาบรรณอีกครั้งหนึ่ง  โดยมีรองอธิบดีกรมราชทัณฑ์ ฝ่ายบริหารเป็นประธานคณะทำงาน
95.   พระราชบัญญัติวินัยข้าราชการราชทัณฑ์ พ.ศ.2482  มีผลบังคับใช้เมื่อใด
ก.      24  ตุลาคม  2482         ข.  25  ตุลาคม  2482
ค.      26  ตุลาคม  2482         ง.  27  ตุลาคม  2482
คำตอบ  ค.  หลักเกณฑ์ตามมาตรา 2 ให้ใช้พระราชบัญญัตินี้ตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป      ซึ่งมีพระราชบัญญัติวินัยข้าราชการราชทัณฑ์ฯ  ประกาศในราชกิจจานุเบกษา  เล่มที่ 56  ตอนที่ 523  วันที่         26 ตุลาคม 2482
96.   ใครเป็นผู้มีอำนาจลงโทษไล่ออกข้าราชการกรมราชทัณฑ์
ก.       รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม   ข.  ปลัดกระทรวงยุติธรรม
ค.      อธิบดีกรมราชทัณฑ์         ง.  ผู้บัญชาการเรือนจำ
คำตอบ  ค.  การลงโทษตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน  สถานไล่ออกหรือปลดออกนั้นให้อธิบดีกรมราชทัณฑ์มีอำนาจไล่ออกหรือปลดออกได้
97.   ส่วนราชการตามข้อใดไม่ใช่ส่วนราชการตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการ
บ้านเมืองที่ดี
ก.      องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น      ข.  กระทรวง
ค.      ทบวง            ง.  กรม
คำตอบ  ก.  ส่วนราชการ  หมายความว่า  ส่วนราชการตามกฎหมายว่าด้วยการปรับปรุงกระทรวง  ทบวง  กรมและหน่วยงานอื่นของรัฐที่อยู่ในกำกับของราชการฝ่ายบริหารแต่ไม่รวมถึงองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
98.   บุคคลตามข้อใดเป็นผู้รักษาการตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมือง
ที่ดี
ก.      นายกรัฐมนตรี         ข.  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
ค.      รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี   ง.  ประธาน ก.พ.ร.
คำตอบ    ตามมาตรา 5 แห่งพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.2496 กำหนดให้นายกรัฐมนตรีเป็นผู้รักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้
99.        ข้อใดมิใช่เป้าหมายของการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
ก.      เกิดประโยชน์สุขต่อประชาชน      ข.  เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ
ค.      เกิดการตรวจสอบที่มีประสิทธิภาพ   ง.  มีการประเมินผลการปฏิบัติราชการอย่างสม่ำเสมอ
คำตอบ  ค.  การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี  คือ  การบริหารราชการเพื่อบรรลุเป้าหมาย  7  ประการ  ดังนี้  1)  เกิดประโยชน์สุขของประชาชน  2)  เกิดผลสัมฤทธิ์ผลต่อภารกิจของรัฐ  3)  มีประสิทธิภาพและเกิดความคุ้มค่าในเชิงภารกิจของรัฐ  4)  ไม่มีขั้นตอนการปฏิบัติงานเกินความจำเป็น  5)  มีการปรับปรุงภารกิจของส่วนราชการให้ทันต่อสถานการณ์  6)  ประชาชนได้รับการอำนวยความสะดวกและได้รับการตอบสนองความต้องการ  7)  มีการประเมินผลการปฏิบัติราชการอย่างสม่ำเสมอ
100.        ข้อใดไม่ใช่การบริหารงานแบบบูรณาการ
ก.      การแบ่งงานกันทำตามความเหมาะสม
ข.      เป็นการร่วมมือระหว่างส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง
ค.      เพื่อให้มีการปฏิบัติงานร่วมกันหรือมีแผนการดำเนินงานที่สอดคล้องไปในทิศทางเดียวกัน
ง.       เพื่อให้เกิดความประหยัดโดยใช้ทรัพยากรร่วมกัน
คำตอบ  ก.  การบริหารงานแบบบูรณาการ  เป็นการร่วมมือกันในระหว่างส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้มีการปฏิบัติงานร่วมกันหรือมีแผนการดำเนินงานที่สอดคล้องไปในทิศทางเดียวกัน  ซึ่งจะทำให้ภารกิจของรัฐในแต่ละด้านประสบผลสำเร็จ  และเป็นประโยชน์ต่อประชาชน  มีการประหยัดโดยใช้ทรัพยากรร่วมกันให้เกิดประโยชน์สูงสุด  รวมทั้งลดขั้นตอนการปฏิบัติราชการให้เกิดความรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ

101.        ข้อใดกล่าวถูกต้องในเรื่องการประเมินผลการปฏิบัติราชการให้กับส่วนราชการffice ffice" />
ก.      จัดให้มีคณะผู้ประเมินอิสระ
ข.      จัดให้มีคณะผู้ประเมินที่เป็นชาวต่างชาติ
ค.      จัดการประเมินโดยคนภายในส่วนราชการนั้น
ง.       จัดการประเมินโดยหัวหน้าส่วนราชการนั้น
คำตอบ  ก.  คณะผู้ประเมินอิสระ  คือ  กลุ่มบุคคลหรือนิติบุคคลที่ไม่มีผลประโยชน์เกี่ยวข้องหรือส่วนได้เสียกับส่วนราชการที่ขอรับการประเมิน  ซึ่งในปัจจุบันผู้ที่ทำการประเมินส่วนราชการเป็นบริษัทที่ทำธุรกิจจัดอันดับความน่าเชื่อถือ 
102.    หลังจากที่คณะรัฐมนตรีได้แถลงนโยบายต่อรัฐสภา  หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการจัดทำแผนต้องดำเนินการจัดทำแผนเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาภายในกำหนดเวลาตามข้อใด
ก.      ภายใน 30 วัน  นับแต่วันที่คณะรัฐมนตรีแถลงนโยบายต่อรัฐสภา
ข.      ภายใน 45 วัน  นับแต่วันที่คณะรัฐมนตรีแถลงนโยบายต่อรัฐสภา
ค.      ภายใน 60 วัน  นับแต่วันที่คณะรัฐมนตรีแถลงนโยบายต่อรัฐสภา
ง.       ภายใน 90 วัน  นับแต่วันที่คณะรัฐมนตรีแถลงนโยบายต่อรัฐสภา
คำตอบ  ง.  การกำหนดระยะเวลาและหน่วยงานรับผิดชอบในการจัดทำแผนบริหารราชการ  เมื่อคณะรัฐมนตรีได้แถลงนโยบายต่อรัฐสภาแล้วให้  1)  สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี  2)  สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี  3)  สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ  4)  สำนักงบประมาณ  ร่วมกันจัดทำแผนบริหารราชก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น