แนวข้อสอบพรบบริหารกระทรวงศึกษาธิการ

แจกฟรี  แนวข้อสอบพรบบริหารกระทรวงศึกษาธิการ
ตัวอย่างแนวข้อสอบ
1.พรบ.ระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษา พ.ศ. 2546 มีผลบังคับใช้วันใด
ก.1 กรกฏาคม 2546
ข.6 กรกฏาคม 2546
ค.7 กรกฏาคม 2546
ง.8 กรกฏาคม 2546

2. การจัดระเบียบกระทรวงศึกษาธิการจัดได้เป็น 3 ส่วนคือข้อใด
ก.ส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และสถานศึกษา
ข.ส่วนกลาง เขตพื้นที่การศึกษา และสถานศึกษาของรัฐระดับปริญญาที่เป็นนิติบุคคล
ค.ส่วนกลาง ส่วนท้องถิ่น และสถานศึกษา ขั้นพื้นฐาน
ง. ส่วนกลาง เขตพื้นที่การศึกษา และสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน

3. ข้อใดไม่ใช่อำนาจหน้าที่ของสภาการศึกษา
ก.พิจารณาเสนอแผนการศึกษาแห่งชาติ
ข.พิจารณาเสนอนโยบายแผนและมาตรฐานการศึกษา
ค.ประเมินผลการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ง.พิจารณาเสนอนโยบายและแผนในการสนับสนุนทรัพยากรเพื่อการศึกษา
4.การกำหนดตำแหน่งและอัตราเงินเดือนของข้าราชการในกระทรวงศึกษาธิการไม่คำนึงถึงข้อใด
ก.คุณวุฒิ ประสบการณ์ และมาตรฐานวิชาชีพ
ข.ลักษณะหน้าที่ความรับผิดชอบ
ค.เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น
ง. คุณภาพงาน

5. บทบาทของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ที่จะต้องดำเนินการตาม พรบ. นี้คือข้อใด
ก.อำนาจในการออกกฎกระทรวง ระเบียบและประกาศ
ข.ตีความและวินิจฉัยชี้ขาดปัญหาการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ดำรงตำแหน่งและหน่วยงาน
ค.บรรจุแต่งตั้งข้าราชการ
ง.ข้อ ก และ ข ถูกต้อง

6. ข้อใดคือการจัดระเบียบบริหารราชการส่วนกลาง
ก.ส่วนราชการที่ขึ้นตรงต่อรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงศึกษาธิการ
ข.สำนักงานปลัดกระทรวง
ค.สำนักงานรัฐมนตรี
ง.ถูกทุกข้อ ก และ ข

7. ใครเป็นประธานคณะกรรมการสภาการศึกษา
ก.คณะกรรมการสภาคัดเลือกกันเอง
ข.ผู้ทรงคุณวุฒิที่คณะกรรมการคัดเลือก
ค.รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ง. เลขาธิการสภาการศึกษาแห่งชาติ

8. คณะกรรมการชุดใดที่กำหนดตำแหน่งประธานกรรมการไว้ใน พรบ. นี้
ก. คณะกรรมการสภาการศึกษา
ข. คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ค. คณะกรรมการการอุดมศึกษา
ง. คณะกรรมการการอาชีวศึกษา

9. ใครทำหน้าที่รับผิดชอบงานเลขานุการของคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ก.สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ข.เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ค.ผู้ที่เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้น พื้นฐานมอบหมาย
ง.ข้อ ก และ ข ถูกต้อง
10. บุคคลใดต่อไปนี้เป็นข้าราชการการเมือง
ก.ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
ข.เลขาธิการรัฐมนตรี
ค.รองเลขาธิการรัฐมนตรี
ง.ข้อ ข และ ค ถูก

11. ข้อใดไม่ใช่หน้าที่ของผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ
ก.นิเทศให้คำปรึกษาและแนะนำเพื่อ การปรับปรุง
ข. ตรวจราชการ
ค. ศึกษาวิเคราะห์ วิจัย
ง. ติดตาม ประเมินผลนโยบายตามภารกิจ

12. หน่วยงานระดับใดสามารถมีผู้ตรวจราชการได้
ก. กระทรวงศึกษาธิการ
ข. กรมหรือหน่วยงานเทียบเท่ากรม
ค. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ง. ถูกทุกข้อ
13. ข้อใด คือบทบาทของคณะตรวจราชการในระดับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ก.ศึกษา วิเคราะห์วิจัย ติดตามและประเมินผล ระดับนโยบาย
ข.ศึกษา วิเคราะห์วิจัย ติดตามและประเมินผล นโยบายตามภารกิจ
ค.ศึกษา วิเคราะห์วิจัย นิเทศติดตามและประเมิน ผลการบริหารและการดำเนินงาน
ง.ศึกษา วิเคราะห์วิจัย นิเทศติดตามและประเมิน ผลตามมติคณะรัฐมนตรี

14. ข้อใด คือบทบาทของกระทรวงศึกษาธิการที่มีต่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ก.ประเมินความพร้อมในการจัดการศึกษา
ข.เสนอแนะการจัดสรรงบประมาณอุดหนุนการ จัดการศึกษา
ค.ประสานส่งเสริมการจัดการศึกษา
ง.ถูกทุกข้อ
15. ในกรณีที่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาไม่อาจจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานหรือการศึกษาระดับอุดมศึกษาระดับต่ำกว่าปริญญาได้หน่วยงานใดจะเป็นผู้จัด
ก.สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
ข.สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ค.สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
ง.สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา

16. หน่วยงานอื่นสามารถจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานใดได้บ้าง หากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาไม่สามารถจัดได้
ก.การจัดการศึกษาในรูปแบบการศึกษานอกระบบหรือตามอัธยาศัย
ข.การจัดการศึกษาสำหรับคนที่มีความสามารถ พิเศษ
ค.การจัดการศึกษาสำหรับผู้ที่มีความบกพร่อง ทางร่างกาย จิตใจ สติปัญญา อารมณ์ สังคม
การสื่อสารและการเรียนรู้หรือมีร่างกายพิการ หรือทุพพลภาพ
ง.ถูกทุกข้อ

17. ใครเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการในสำนักงานรองจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ก. ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
ข. เลขาธิการ
ค. ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ง. ข้อ ก และ ข

18. ใครเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการในสถานศึกษาของรัฐในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
ก.ปลัดกระทรวงศึกษาธิ การ
ข.เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
ค. เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา
ง. เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

19. การบริหารและการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานให้คำนึงถึงสิ่งใดน้อยที่สุด
ก. จำนวนนักเรียน
ข.ปริมาณสถานศึกษา
ค.´จำนวนประชากร
ง. วัฒนธรรมและความเหมาะสมด้านอื่น

20. ใครมีอำนาจประกาศกำหนดเขตพื้นที่การศึกษา
ก.รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษา
ข.รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาโดยคำแนะนำของสภาการศึกษา
ค.รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการโดยคำยินยอมของสภาการศึกษา
ง.คณะรัฐมนตรี

21. ในกรณีที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ทางการศึกษาใครเป็นผู้กำหนดให้เขตพื้นที่การศึกษาสามารถขยายบริการการศึกษาออกไปในเขตพื้นที่การศึกษาอื่นได้
ก.คณะรัฐมนตรี
ข.รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ค. คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ง. คณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา

22. ข้อใด คือการจัดระเบียบบริหารราชการของเขตพื้นที่การศึกษา
ก. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ข. สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
ค. ส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่น
ง. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา สถานศึกษาขั้นพื้นฐานหรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่น
23. การแบ่งส่วนราชการในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาให้ดำเนินการตามข้อใด
ก. กฎกระทรวง
ข. ระเบียบ
ค. ประกาศกระทรวง
ง. ระเบียบของคณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา

24. การแบ่งส่วนราชการในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานให้ดำเนินการตามข้อใด
ก. กฎกระทรวง
ข. ประกาศกระทรวง
ค. ระเบียบที่คณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษากำหนด
ง. ระเบียบที่คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนด

25. สถานศึกษาที่จัดการศึกษาขั้นพื้นฐานตามข้อใดมีฐานะเป็นนิติบุคคล
ก.โรงเรียน
ข. สถานพัฒนาเด็กเล็ก
ค. ศูนย์การเรียน
ง. ถูกทุกข้อ
26. ผู้แทนจากกลุ่มบุคคลใดไม่ใช่องค์ประกอบของคณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา
ก. ผู้แทนองค์กรเอกชน
ข. ผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ค. ผู้แทนสมาคมผู้ประกอบวิชาชีพครู
ง. ผู้แทนสมาคมผู้ประกอบวิชาชีพบุคลากรทางการศึกษา

27. บุคคลที่ทำหน้าที่ในการกำกับและส่งเสริมสนับสนุนกิจการของสถานศึกษา คือข้อใด
ก.คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
ข.คณะกรรมการสถานศึกษาระดับอุดมศึกษา ที่ต่ำกว่าปริญญา
ค.คณะกรรมการสถานศึกษาระดับอาชีวศึกษา
ง.ถูกทุกข้อ

28. อำนาจหน้าที่ของผู้อำนวยการสถานศึกษา กำหนดไว้ในมาตราใดของ พรบ.ระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ
ก. มาตรา 38
ข. มาตรา 39
ค. มาตรา 40
ง. มาตรา 41

29. ข้อใดไม่ใช่อำนาจหน้าที่ของผู้อำนวยการสถานศึกษา
ก.บริหารกิจการของสถานศึกษา
ข.ประสานการระดมทรัพยากรเพื่อการศึกษา
ค.อนุมัติประกาศนียบัตรและวุฒิบัตรของสถาน ศึกษาตามที่คณะกรรมการสถานศึกษากำหนด
ง.ทำรายงานประจำปีเกี่ยวกับกิจการของสถาน ศึกษาเพื่อเสนอต่อคณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา

30. องค์กรบริหารงานบุคคลสำหรับข้าราชการพลเรือนในสถานศึกษาที่จัดการศึกษาระดับอุดมศึกษาระดับปริญญาในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ
ก. ก.ค.
ข. ก.ค.ศ.
ค. ก.ม.
ง. อ.ก.ค.ศ. อุดมศึกษา
31. ข้อใด คือบทบาทหน้าที่ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการต่อสถานศึกษาอุดมศึกษา
ก.เสนอแนะการจัดสรรงบประมาณให้แก่สถาน ศึกษาของรัฐที่จัดการศึกษาอุดมศึกษา
ข.ประสานงานการจัดการศึกษาระหว่างสถานศึกษาจัดการศึกษาอุดมศึกษาของรัฐและเอกชน
ค.เสนอการจัดตั้ง ยุบ รวม ปรับปรุงและเลิกสถานศึกษาของรัฐที่จัดการศึกษาระดับอุดมศึกษา
ง.ถูกทุกข้อ

32. การกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษาทั้งด้านวิชาการ งบประมาณ การบริหารงานบุคคลและการบริหารงานทั่วไป กระจายให้กับใคร
ก.คณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา
ข.สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ค. สถานศึกษา
ง. ถูกทุกข้อ
33. ข้อใดคือการกระจายอำนาจในการบริหารการศึกษา
ก.อำนาจหน้าที่ในการให้ความเห็นชอบเกี่ยวกับงบประมาณ
ข.หลักเกณฑ์การพิจารณาความดีความชอบ
ค.การพัฒนาและดำเนินการทางวินัยครูและ บุคลากรทางการศึกษา
ง.ถูกทุกข้อ

34. การปฏิบัติราชการแทนให้ดำเนินการโดยวิธีใด
ก. การกระจายอำนาจ
ข. การมอบอำนาจ
ค. การแบ่งอำนาจ
ง. การกระจายอำนาจ และการมอบอำนาจ

35. หัวหน้าส่วนราชการในสังกัดมอบอำนาจในส่วนที่เกี่ยวข้องกับภารกิจที่ตนรับผิดชอบให้กับบุคคลใด
ก.ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ข.ผู้อำนวยการสถานศึกษา
ค.หัวหน้าส่วนราชการระดับสถานศึกษา
ง.ข้อ ก และ ข
36. บุคคลใดไม่สามารถมอบอำนาจให้บุคคลอื่นได้
ก.รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการมอบอำนาจให้ผู้ว่าราชการจังหวัด
ข.เลขาธิการมอบอำนาจให้ผู้อำนวยการสถานศึกษา
ค.ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามอบอำนาจให้ผู้อำนวยการสถานศึกษา
ง.ผู้อำนวยการสถานศึกษามอบอำนาจให้คณะกรรมการสถานศึกษา

37. ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสามารถมอบอำนาจให้บุคคลใดได้บ้าง
ก. ผู้อำนวยการสถานศึกษา
ข. หัวหน้าหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นในเขตฯ
ค. ข้าราชการในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ง. ถูกทุกข้อ

38. การมอบอำนาจของผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาให้ผู้อำนวยการสถานศึกษาให้ทำโดยวิธีการใด
ก. ทำเป็นคำสั่ง
ข. ทำเป็นหนังสือ
ค. ทำเป็นลายลักษณ์อักษร
ง. ถูกทุกข้อ

39. ในกรณีที่ไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งหรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ให้ดำเนินการตามข้อใด
ก. การรักษาราชการแทน
ข. การปฏิบัติหน้าที่แทน
ค. การปฏิบัติราชการแทน
ง. การรักษาการในตำแหน่ง

40. การมอบอำนาจให้บุคคลใดที่บุคคลนั้นสามารถมอบอำนาจให้บุคคลอื่นต่อไปได้
ก.การมอบอำนาจให้เลขาธิการ
ข.การมอบอำนาจให้ผู้ว่าราชการจังหวัด
ค.การมอบอำนาจให้ผู้อำนวยการสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษา
ง.การมอบอำนาจให้ผู้อำนวยการสถานศึกษา

41. ผู้ว่าราชการจังหวัดจะมอบอำนาจต่อให้บุคคลใดจะต้องได้รับความเห็นชอบจากผู้มอบอำนาจขั้นต้นก่อน
ก.รองผู้ว่าราชการจังหวัด
ข.ผู้ช่วยผู้ว่าราชการจังหวัด
ค. บุคคลอื่น
ง. ผู้ช่วยผู้ว่าราชการจังหวัดและบุคคลอื่น

42. ในกรณีที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้และมีรัฐมนตรีช่วยหลายคน ใครเป็นผู้มอบหมายให้รัฐมนตรีช่วยคนใดคนหนึ่งเป็นผู้รักษาราชการแทน
ก.นายกรัฐมนตรี
ข.คณะรัฐมนตรี
ค. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ง. รมต. ศธ.โดยความเห็นชอบของ ครม.

43. ในกรณีที่มีรองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาหลายคน ใครเป็นผู้แต่งตั้งให้รองฯคนใดคนหนึ่งเป็นผู้รักษาราชการแทน
ก. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ข. ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
ค. เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ง. ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา

44. ในกรณีที่ไม่มีรองผู้อำนวยการสถานศึกษา ใครเป็นผู้แต่งตั้งผู้รักษาราชการแทนผู้อำนวยการสถานศึกษา
ก. เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ข. ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ค. ผู้อำนวยการสถานศึกษา
ง. ข้อ ข และ ค

45. ให้โอนบรรดา อำนาจหน้าที่ กิจการ ทรัพย์สิน หนี้สิน อัตรากำลัง ข้าราชการ ลูกจ้างและงบประมาณของหน่วยงานใดเป็นของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ก.สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษา แห่งชาติ
ข.กรมสามัญศึกษาและกรมวิชาการ
ค.สำนักงานศึกษาธิการจังหวัด อำเภอ
ง.ถูกทุกข้อ

46.ข้าราชการหน่วยงานใด ที่ต้องโอนไปสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ก. สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษา แห่งชาติ
ข. กรมวิชาการ
ค. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน
ง. ถูกทุกข้อ

47. อ.ก.ค.ใด ที่ยังมีผลบังคับใช้อยู่ถึงแม้ พรบ.ระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการมีผลบังคับใช้แล้ว
ก. อ.ก.ค. กรมวิชาการ
ข. อ.ก.ค. กรมสามัญศึกษา
ค. อ.ก.ค. กรมอาชีวะศึกษา
ง. อ.ก.ค.สำนักงานสภาสถาบันราชภัฏ

48. การกำหนดและการเปลี่ยนแปลงเขตพื้นที่การศึกษาตามบทเฉพาะการเป็นอำนาจหน้าที่ของใคร
ก.รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ข. นายกรัฐมนตรี
ค.เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ง. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการโดยคำแนะนำของคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ

49. ใครมีอำนาจประกาศในราชกิจจานุเบกษาเพื่อกำหนดหรือเปลี่ยนแปลงเขตพื้นที่การศึกษา
ก.รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ข.รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการโดยคำยินยอมของคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ
ค.รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการโดยคำ แนะนำของสภาการศึกษาแห่งชาติ
ง.รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการโดยคำ ยินยอมของสภาการศึกษาแห่งชาติ

50. พรบ.ระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษา ธิการ พ.ศ. 2546 มีกี่หมวดและกี่มาตรา
ก.4 หมวด 90 มาตรา 1 บทเฉพาะกาล
ข.5 หมวด 1 บทเฉพาะกาล รวม 82 มาตรา
ค.9 หมวด 1 บทเฉพาะกาล รวม 78 มาตรา
ง.9 หมวด รวม 140 มาตรา 1 บทเฉพาะกาล
พรบ.ระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2546

1.
2.3.4.5.6. 7.8.9.10.11.12.13.14.15.16.17.18.19.20.21.22. 23.24.25.26.27.28.29.30.31.32.33.34.35.36.37.38. 39.40.41.42.43.44.45.6.47.48.49.50.

*************

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น